Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์ | - |
dc.contributor.author | กฤตพณ เสาวคนธ์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T09:49:50Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T09:49:50Z | - |
dc.date.issued | 2018-05-21 | - |
dc.identifier | TP MS.054 2560 | - |
dc.identifier.citation | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2407 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหาร จำนวน 7 คน และพนักงานจำนวน 220 คน จากธุรกิจครอบครัว 7 แห่ง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารธุรกิจครอบครัวที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 แห่ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (เฉยๆ) โดยเห็นด้วยกับปัจจัยด้านการแสวงหาความรู้และวิธีการใหม่เพื่อพัฒนางานและตนเองอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปัจจัยภายนอก คือปัจจัยทางด้านการตลาด เจ้าของหรือผู้บริหารธุรกิจครอบครัวเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า พฤติกรรมของลูกค้าและการแข่งขันที่รุนแรง มีผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจครอบครัว พนักงานกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นด้วยกับปัจจัยด้านกระบวนการพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง 5 ปัจจัย ว่ามีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และปัจจัยภายนอก คือปัจจัยทางด้านการตลาด อยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นด้วยว่าพฤติกรรมของลูกค้าและการแข่งขันที่รุนแรง มีผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจครอบครัว ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะของธุรกิจครอบครัวมีผลเชิงบวกต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้, ปัจจัยทางด้านการตลาดที่เปลี่ยนแปลง มีผลเชิงบวกต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจครอบครัว และปัจจัยทางด้านกระบวนการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีผลเชิงบวกต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของธุรกิจครอบครัว | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | ธุรกิจครอบครัว | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | องค์กรแห่งการเรียนรู้ | - |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ | - |
dc.title | DEVELOPING FACTORS FROM THAI FAMILY BUSINESS TO A LEARNING ORGANIZATION | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.054 2560.pdf | 974.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.