Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2421
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พันธ์ณภัทร์ เศวตภาณวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ปิยารัตน์ มากลั่น | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T09:50:06Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T09:50:06Z | - |
dc.date.issued | 2018-05-21 | - |
dc.identifier | TP MS.070 2560 | - |
dc.identifier.citation | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2421 | - |
dc.description.abstract | ธุรกิจประกันวินาศภัยปี 2559 (มกราคม – ธันวาคม 2559) มีเบี้ยประกันภัยรับตรงทั้งสิ้น 209,743 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 0.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าสิ้นปี 2560 ธุรกิจประกันวินาศภัยจะขยายตัวร้อยละ 1.63 (คปภ., 2560) จากการส่งเสริม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความ หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงการประกันวินาศภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้บริโภคที่มีการใช้สื่อเทคโนโลยีมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคมีการใช้สื่อดิจิตอลในการสำรวจราคาและรูปแบบประกันที่ตรงกับพฤติกรรม และความสนใจของตนเอง ประกอบกับความต้องการรับบริการแบบ เอาใจใส่ใกล้ชิดและความต้องการของลูกค้าแต่ละคนที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมและ ปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยนำดิจิตอลมาสร้างนวัตกรรมทาง ธุรกิจรูปแบบใหม่ ทำให้เกิดการปฏิรูปแนวทางธุรกิจใหม่จนสามารถแซงหน้าธุรกิจแบบดั้งเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มากขึ้น ส่งผลให้เกิดข้อได้เปรียบทาง การแข่งขันด้วยการเป็นผู้นำในการนำเสนอและฉีกรูปแบบการให้บริการแบบเก่ามาประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีให้เข้ากับรูปแบบ และการใช้ชีวิตของลูกค้าในยุคดิจิตอลมากขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้ ได้มีการวางแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหาร องค์กรธุรกิจประกันภัย จำนวน 12 คน (1) ประชากรวิจัยและกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยคุณภาพเชิงลึก ประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีความรู้ ความเข้าใจธุรกิจประกันภัยเป็นอย่างดีและมีอำนาจในการขับเคลื่อนองค์กรรวมทั้งเป็นผู้บริหารที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและ ดิจิตอล โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (2) เครื่องมือ ชี้วัดได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ในส่วนของแบบสัมภาษณ์ และการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จาก การศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา ทฤษฎี และแนวคิดต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4) การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้รับจาก การสัมภาษณ์และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล โดยการจัดลำดับความสำคัญ ของ กลยุทธ์และมีการสื่อสารให้พนักงานเกิดทัศนะคติเชิงบวกตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงในดิจิตอล และเตรียมความพร้อม ในด้านการลงทุน ในเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยดิจิตอล ตลอดจนสามารถ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าและสามารถปิดการขายบนแพลตฟอร์มดิจิตอลได้ | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | ความสามารถทางการแข่งขัน | - |
dc.subject | ธุรกิจประกันภัย | - |
dc.title | การศึกษาการนำระบบดิจิตอลมาใช้ในธุรกิจประกันภัยเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน = THE APPLICATION OF DIGITAL TECHNOLOGY IN THE NON-LIFE INSURANCE BUSINESS | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.070 2560.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.