Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2455
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorพันธ์ณภัทร์ เศวตภาณุวงศ์-
dc.contributor.authorฐิติวรรณ ขันติพจน์สกุล-
dc.date.accessioned2021-03-23T09:50:52Z-
dc.date.available2021-03-23T09:50:52Z-
dc.date.issued2017-02-23-
dc.identifierTP BM.041 2559-
dc.identifier.citation2559-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2455-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ในการจดบันทึกของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือ แท็บเล็ต (Tablet) ในการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลการเลือกใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ในการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นบุคคลทั่วไปที่ใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ที่พำนักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 116 คน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (K-Means Cluster Analysis) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย และเพศหญิงในจำนวนที่เท่ากัน ส่วนใหญ่อายุ 21 - 30 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 15,001 – 25,000 บาท ใช้สมาร์ท-โฟน (Smartphone) เป็นหลัก จำนวน 1 เครื่อง นิยมใช้ระบบปฏิบัติการ IOS และระบบปฏิบัติการ Android ตามลำดับ กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการส่งและรับข้อความแบบโต้ตอบกันทันที (Chat) แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการจดบันทึก คือ Notes Application ส่วนใหญ่จดบันทึกเรื่องส่วนตัว รูปแบบการป้อนข้อมูลจะเป็นการพิมพ์ (Keyboard) ใช้ภาษาไทยในการจดบันทึกเป็นหลัก จำนวนตัวอักษรในการจดบันทึกต่ำกว่า 100 ตัวอักษรต่อครั้ง จดบันทึกสัปดาห์ละครั้ง จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 37.9 และจดบันทึกต่ำกว่า 100 – 300 ตัวอักษรต่อครั้ง จดบันทึกสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 62.1 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตนเองมากถึงมากที่สุดในการเลือกใช้สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ในการจดบันทึก และมองว่าสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น สามารถจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้ทุก ๆ ที่ ตลอดเวลา ให้ความสำคัญมากที่สุด รวมทั้งให้ความสำคัญมากกับความสำคัญของสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ที่จะมีความสำคัญต่อการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้า มีความจำเป็นต่อการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ และสามารถรักษาข้อมูลต่าง ๆ ที่จดบันทึกไว้ได้อีกด้วย-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการจัดการธุรกิจ-
dc.subjectสมาร์ทโฟน-
dc.subjectพฤติกรรมการใช้-
dc.subjectกรุงเทพมหานครและปริมณฑล-
dc.subjectการจดบันทึก-
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในการจดบันทึกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล = The behavior study choosing to use smartphone or tablet to take note of consumers in Bangkok and perimeter.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.041 2559.pdf1.46 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.