Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2557
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี =FACTORS INFLUENCING VIEWER’S BEHAVIOR IN WATCHING THAIRATHTV NEWS PROGRAMS. |
Authors: | พิมพ์รจิต เอื้อวงษ์ชัย |
Keywords: | การตลาด พฤติกรรมการรับชม สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี |
Issue Date: | 25-Jun-2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2561 |
Abstract: | เนื่องจากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญในการรับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ดังนั้นสื่อ (Media) ต่าง ๆ จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อการถ่ายทอดข้อมูล ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออิทธิพลในสังคม ดังนั้นการใช้สื่อโทรทัศน์ในการเผยแพร่ข่าวสาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้จึงได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการรับชมข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรต้นคือปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย และอาชีพ และปัจจัยที่ทำให้คนดูรายการข่าวไทยรัฐทีวี ประกอบด้วย ประเภทรายการข่าว ผู้ดำเนินรายการ เทคโนโลยี ช่วงเวลาในการรับชม และกระแสสังคม โดยมีตัวแปรตามคือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับชมข่าวสารประกอบด้วยความพึงพอใจ ความถี่ในการรับชม การพูดปากต่อปาก และการมีส่วนร่วมในรายการข่าว และตัวแปรกำกับคือปัจจัยด้านนโยบายการเกาะติดสถานการณ์ จากผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ชมที่มีอายุ อาชีพ และ ภูมิภาคที่อาศัยอยู่ แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการรับชมข่าวสารที่แตกต่างกัน 2) ผู้ชมที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันจะมี ความพึงพอใจ ความถี่ในการรับชม และการพูดปากต่อปากที่แตกต่างกัน 3) ผู้ชมที่มีรายได้ต่างกันจะมีความพึงพอใจ และความถี่ในการรับชมที่แตกต่างต่างกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากตัวแปรต้นคือปัจจัยที่ทำให้คนดูรายการข่าวไทยรัฐทีวี พบว่าปัจจัยที่ทำให้คนดูรายการข่าวไทยรัฐทีวีทุกตัว ส่งผลต่อตัวแปรตามคือพฤติกรรมการรับชมข่าวสาร โดยปัจจัยด้านช่วงเวลาจะส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด และปัจจัยด้านเทคโนโลยีจะส่งผลต่อความถี่ในการรับชมและการมีส่วนร่วมในรายการข่าวมากที่สุด ปัจจัยด้านกระแสสังคมจะส่งผลต่อการพูดปากต่อปากมากที่สุด และเมื่อพิจารณาตัวแปรกำกับคือปัจจัยด้านนโนบายเกาะติดสถานการณ์พิเศษ พบว่าปัจจัยด้านนโยบายเกาะติดสถานการณ์พิเศษจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2557 |
Other Identifiers: | TP MM.015 2561 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.015 2561.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.