Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2868
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ธนพล วีราสา | - |
dc.contributor.author | ณัฏฐ์พัชร์ สุทธิสัณหกุล | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:10:40Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:10:40Z | - |
dc.date.issued | 2019-02-18 | - |
dc.identifier | TP BM.037 2561 | - |
dc.identifier.citation | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2868 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปริมาณนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของคนกรุงเทพมหานครที่มีต่อการยอมรับการเดินทางโดยใช้รถร่วมกัน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 354 คน ซึ่งเป็นการวัดผลจากกลุ่มตัวอย่างเพียงช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ ตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนการวิเคราะห์แนวโน้มทัศนคติจะใช้เส้นภาพ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 354 คนเป็นเพศหญิงร้อยละ 63 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 56 การศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 53 ส่วนมากทำอาชีพในบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 71.5 และมีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนยู่ในช่วง 30,001 – 50,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 35 สำหรับพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า โดยปกติจะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวคนเดียว โดยเหตุผลหลักที่ไม่เดินทางโดยใช้รถร่วมกับผู้อื่นคือ ไม่สามารถกำหนดเวลาการเดินทางได้เอง ภาพรวมทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการยอมรับการเดินทางโดยใช้รถร่วมกันเป็นไปในเชิงลบ ผลจากการพิจารณาตามองค์ประกอบของทัศนคติพบว่า ถึงแม้จะมีทัศนคติด้านความเข้าใจในเชิงบวก แต่ในทางกลับกันส่วนทัศนคติต่อความเชื่อมั่นและความรู้สึกกลับเป็นไปในเชิงลบ นอกจากนั้นยังพบว่าทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพและระดับรายต่างกัน ก็มีแนวโน้มทัศนคติในทิศทางเดียวกัน โดยให้ผลในเชิงลบเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-50,000 บาท มีทัศนคติในเชิงลบน้อยที่สุด โดยประเด็นหลักที่คนให้ความสำคัญ คือ ความรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว ความรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องเดินทางร่วมกับคนแปลกหน้า กำหนดเวลาการเดินทางได้ยากเนื่องจากความไม่ยืดหยุ่นในด้านเวลา และไม่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน จึงทำให้การยอมรับการเดินทางโดยการใช้รถร่วมกันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | การเดินทาง | - |
dc.subject | Carpooling | - |
dc.subject | คาร์พูล | - |
dc.title | ทัศนคติของคนกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการยอมรับการเดินทางโดยใช้รถยนต์ร่วมกัน =THE STUDY OF ATTITUDE TOWARD CARPOOLING ACCEPTANCE. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.037 2561.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.