Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2948
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พลิศา รุ่งเรือง | - |
dc.contributor.author | บุญช่วย โค้วตระกูล | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:25:39Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:25:39Z | - |
dc.date.issued | 2019-05-21 | - |
dc.identifier | TP BM.018 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2948 | - |
dc.description.abstract | ปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีผู้ใช้งานผ่าน Mobile Banking สูงถึง 28 ล้านคนตามสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความพยายามที่จะนำประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดตามนโยบาย 4.0 ของภาครัฐ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศต่างเดินหน้าพัฒนาระบบ Mobile Banking เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุดควบคู่ไปกับกิจกรรมทางการตลาดในวงกว้างเพื่อส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้งาน Mobile Banking แทนการใช้เงินสด อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยในอดีตพบว่า “ความปลอดภัย” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและรวมถึงการตัดสินใจเริ่มใช้บริการ Mobile Banking Application อย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อที่เข้าใจพฤติกรรมและความคิดเห็นของกลุ่ม Generation C ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยของ Mobile Banking Application ที่ให้บริการโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ในลักษณะงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความมั่นใจในระบบ Mobile Banking Application ที่ให้บริการโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เนื่องจากระบบยืนยันตัวตนที่น่าเชื่อถือ ไม่เคยประสบเหตุการณ์เลวร้ายในการใช้งาน ระมัดระวังตัวเองในการใช้งาน และคิดว่าธนาคารพาณิชย์เองย่อมห่วงชื่อเสียงของตนเอง สำหรับการยืนยันตัวตนที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความเหมาะสมต่อการใช้งานนั้น ในขั้นตอนของการยืนยันตัวตนเพื่อ log-in กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกวิธีการสแกนลายนิ้วมือเนื่องจาก สะดวก รวดเร็ว ง่าย ปลอมแปลงยาก ปลอดภัย มือถือส่วนใหญ่รองรับวิธีดังกล่าว และเพียงพอต่อการ log-in แต่ไม่ได้ทำรายการธุรกรรม และสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อยืนยันรายการธุรกรรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกวิธี One Time Password (OTP) เนื่องจากง่าย ไม่ต้องจดจำ และปลอดภัย สำหรับความรู้ความเข้าใจการใช้งาน Mobile Banking อย่างปลอดภัยนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องในเรื่องการใช้งาน Mobile Banking ให้ปลอดภัยในหลายๆ ประเด็น และแม้ในประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี ก็มีแนวโน้มที่จะละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พึงปฏิบัติ เหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงต่อตัวผู้ใช้งานเองและรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ต้องหามาตรการป้องกันเชิงรุก และสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้บริการดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | Mobile application | - |
dc.subject | ความเชื่อมั่น | - |
dc.subject | ความปลอดภัย | - |
dc.title | ความคิดเห็นของ Generation C เกี่ยวกับความปลอดภัยบน Mobile banking application ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย =GENERATION C’S PERSONAL OPINIONS TOWARDS THE SECURITY ISSUES OF MOBILE BANKING APPLICATION OFFERED BY COMMERCIAL BANKS IN THAILAND. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.018 2562.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.