Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3018
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | กิตติชัย ราชมหา | - |
dc.contributor.author | กรณัฐ นิปกานนท์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:26:07Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:26:07Z | - |
dc.date.issued | 2019-06-26 | - |
dc.identifier | TP EM.019 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3018 | - |
dc.description.abstract | ประเทศไทยในปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้สามารถรับมือและแข่งขันในกระแสความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเศรษฐกิจโลกได้ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้ออกนโยบาย “Thailand 4.0” หรือวิสัยทัศน์เชิงนโยบายที่มุ่งเน้นเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยผู้ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนโยบายนี้ ก็คือผู้ประกอบการธุรกิจทั้งรายใหญ่และรายย่อย ที่ต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเองสู่ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Innovation Driven Enterprise (IDE) เพื่อให้สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จได้ในระดับโลก (Global Scale) โดยรูปแบบของธุรกิจนวัตกรรมนั้นก็สามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท หนึ่งในประเภทที่เติบโตได้รวดเร็วและสร้างประโยชน์สำคัญต่อเศรษฐกิจได้มากก็คือรูปแบบดิจิตัลแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นรูปแบบที่สร้างคุณประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง ภาคการศึกษาเป็นอีกหนึ่งในภาคส่วนในระบบนิเวศน์รอบตัวผู้ประกอบการ ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการนั้นเข้าสู่รูปแบบธุรกิจที่เน้นนวัตกรรมหรือ IDE ได้ โดยภาคการศึกษาเป็นทั้งแหล่งรวบรวมความรู้ งานวิจัย แหล่งรวมบุคลากรที่มีความสามารถ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ปลูกฝังจิตวิญญาณผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) ให้กับผู้เรียนอีกด้วย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้มุ่งเน้นศึกษาการช่วยเหลือของภาคการศึกษาต่อธุรกิจนวัตกรรมประเภทดิจิตอลแพลตฟอร์ม โดยผู้จัดทำเลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้โดยใช้วิธีแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sample) ด้วยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น ธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทยจำนวน 25 ตัวอย่าง หน่วยงานภาครัฐไทยจำนวน 3 ตัวอย่าง และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยจำนวน 8 ตัวอย่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (Structure Interview) และวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Directed Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบตารางเปรียบเทียบประกอบคำบรรยาย เพื่อนำผลวิจัยมาอ้างอิงแผนสำหรับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมต่อไป โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการศึกษาและภาคส่วนอื่น ๆ ในการร่วมกันพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | - |
dc.subject | ผู้ประกอบการ | - |
dc.subject | การศึกษา | - |
dc.subject | นวัตกรรม | - |
dc.subject | ธุรกิจนวัตกรรม | - |
dc.title | การศึกษาคุณลักษณะปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรค ในมิติกลยุทธ์การสนับสนุน ของภาคการศึกษาที่มีผลกระทบต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของธุรกิจนวัตกรรมประเภทดิจิตอลแพลตฟอร์มของประเทศไทย = | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.019 2562.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.