Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช-
dc.contributor.authorธนพงษ์ ยิ้มสุขไพฑูรย์-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:26:27Z-
dc.date.available2021-03-23T10:26:27Z-
dc.date.issued2019-08-10-
dc.identifierTP MS.069 2561-
dc.identifier.citation2561-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3057-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อองค์กรในอนาคต ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) และแผนผังก้างปลา (Fish-bone diagram) เพื่อช่วยให้เกิดการนำความเสี่ยงมาวิเคราะห์และสร้างแผนจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้แบบอย่างการศึกษาองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง 8 ประการ ด้วยกรอบการบริหารความเสี่ยงของ COSO ทั้งนี้พบว่าบริษัทมีความเสี่ยงทั้งหมด 8 ประเด็นคือ 1.ความเสี่ยง ทางด้านบุคลากร 2. ความเสี่ยงจากชั้นตอนการดำเนินงาน 3. ความเสี่ยงทางการเงิน 4. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และนโยบายในการบริหารงาน 5. ความเสี่ยงทางสภาวะการแข่งขัน 6. ความเสี่ยงจากบริษัทคู่ค้า 7.ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบราชการ 8.ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง พบว่าประเด็นความเสี่ยงเรื่องความเสี่ยงด้านขั้นตอนการดำเนินงานมีระดับคะแนนความเสี่ยงสูงที่สุด รองลงมาเป็นความเสี่ยงด้านกฎระเบียบราชการ และความเสี่ยงทางสภาวะการแข่งขัน ผู้วิจัยสามารถสรุปแผนการจัดการความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น 5 แผน คือ1. แผนบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 2. แผนการบริหารขั้นตอนการดำเนินงาน 3. แผนบริหารจัดการคู่ค้า (ผู้ผลิต, ลูกค้า, บริษัทขนส่ง,โกดังสินค้า และหน่วยงานราชการ) 4. แผนรับมือกฎระเบียบราชการ และ 5. แผนรับมือสภาวะเศรษฐกิจผันผวน ซึ่งในแต่และแผนการจัดการความเสี่ยงนั้นได้มีการกำหนดระยะเวลาและผู้รับผิดชอบไว้ชัดเจน และในขั้นตอนสุดท้ายผู้วิจัยได้มีการนำเสนอแผนการจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการความเสี่ยง โดยการประเมินได้ผ่านและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละฝ่ายที่รับผิดชอบต่อไป-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectความเสี่ยง-
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์-
dc.subjectวัตถุอันตราย-
dc.subjectธุรกิจนำเข้า-
dc.titleการบริหารความเสี่ยงธุรกิจนำเข้าวัตถุอันตราย: กรณีศึกษาบริษัท T จำกัด =RISK MANAGEMENT IN IMPORT OF HAZARDOUS GOODS BUSINESS : CASE STUDY OF T CO., LTD.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.069 2561.pdf2.26 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.