Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3067
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ภูมิพร ธรรมสถิตเดช | - |
dc.contributor.author | วิศิษฏ์ รุจิเจริญชัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:26:32Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:26:32Z | - |
dc.date.issued | 2019-08-10 | - |
dc.identifier | TP MS.012 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3067 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมองภาพอนาคตเกี่ยวกับการเกษตรและธุรกิจเกษตรในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้จะศึกษาการประมวลข้อมูลจากเอกสารรายงานและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานในภาคการเกษตรโดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก( In-dept Interview) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 ราย แบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา Content Analysis และการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ผลวิจัยพบว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในภาคการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับภาพรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของโลก โดยปัจจัยที่ระบุขีดจำกัดการเปลี่ยนแปลงตามกรอบแนวคิด PESTEL คือปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของประเทศและปัจจัยด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นตัวแปรหลักของทิศทางการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำการเกษตรและรูปแบบการดำเนินธุรกิจเกษตรของประเทศไทย โดยจากการเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ผู้ให้สัมภาษณ์ต่างมีแนวความคิดสอดคล้องเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจเกษตรที่มีศักยภาพในอนาคตของประเทศไทยทั้งสิ้น 5 ประเภทได้แก่ ธุรกิจที่ปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าเกษตร ธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทน ธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร ธุรกิจที่เกี่ยวกับการปรับเทคโนโลยีชีวเคมี และธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งธุรกิจที่มีศักยภาพดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทิศทางและแนวทางการบริหารและดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของการเกษตรของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรเอง โดยต้องให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางการปรับตัวและดำเนินงานกับปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจเพื่อให้ภาพรวมการเกษตรกรรมและธุรกิจภาคการเกษตรของประเทศไทยเจริญเติบโตได้ตามการคาดการณ์ภาพอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | การเกษตร | - |
dc.subject | ห่วงโซ่อุปทาน | - |
dc.subject | พลังงานทดแทน | - |
dc.title | ภาพอนาคตการเกษตรและธุรกิจเกษตรในประเทศไทย =FORESIGHT FOR AGRICULTURE AND AGRIBUSINESS IN THAILAND. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.012 2562.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.