Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorณัฐสิทธิ์ เกิดศรี-
dc.contributor.authorอรรณพพล หาราชัย-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:26:35Z-
dc.date.available2021-03-23T10:26:35Z-
dc.date.issued2019-08-10-
dc.identifierTP MS.017 2562-
dc.identifier.citation2562-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3072-
dc.description.abstractจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การดำเนินนโยบายด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการกำหนดมาตรฐานหรือเกณฑ์ในการประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จึงเป็นที่มาของความสนใจในการนำระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีและ ระดับความพร้อมทางธุรกิจมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย โดยการจัดทำเป็นเครื่องมือประเมินระดับความพร้อม กรอบการประเมิน Readiness Level สำหรับสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม สามารถเข้าใจปัจจัยที่จำเป็นในการอยู่รอดได้ ประกอบการนำระดับความพร้อมมาประยุกต์ใช้งานให้เกิดมรรคผล ที่หลากหลายในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในประเทศไทย การวิจัยนี้เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมทางด้านระดับความพร้อม (Readiness Level) ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเป็นกรอบและแนวทางสำหรับสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จากกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ภาคเอกชนที่มีการลงทุนในผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม เป็นต้น และนำประเด็นต่าง ๆ มาสรุปเพื่อปรับปรุง กรอบระดับความพร้อมที่เหมาะสมกับประเทศไทย และทำเป็นเครื่องมือประเมินระดับความพร้อมที่เหมาะกับบริบทประเทศไทย จากผลการวิจัยพบว่า ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี และทางธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการขับเคลื่อนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมได้ ระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี และทางธุรกิจมีความสอดคล้องกับสภาวะต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมต้องดำเนินการ และเพื่อให้การขับเคลื่อนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิผลนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างล้วนแต่มีบทบาทอันสำคัญในการนำระดับความพร้อมไปประยุกต์ใช้งาน เช่น สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมสามารถใช้เป็นกรอบการสื่อสารเพื่อให้สามารถเข้าระดับความพร้อมได้ตรงกัน ตัวผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมเองควรได้รับการรับรองระดับความพร้อมเพื่อต่อยอดเป็นทุน หน่วยงานภาครัฐควรออกแบบนโยบายที่เหมาะสมในแต่ละระดับความพร้อมเพื่อให้ทำงานได้ตรงกับภารกิจ เป็นต้น-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectเทคโนโลยี-
dc.subjectผู้ประกอบการ-
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์-
dc.subjectผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม-
dc.titleระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี และทางธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม =TECHNOLOGY READINESS LEVEL AND BUSINESS READINESS LEVEL FOR INNOVATION DRIVEN ENTERPRISE.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.017 2562.pdf4.68 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.