Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3096
Title: โอกาสในงานวิจัย พัฒนา มุมมองของผู้ใช้ต่ออุตสาหกรรมยาชีววัตถุ และยาชีววัตถุคล้ายคลึง growth hormone ในประเทศไทย =OPPORTUNITIES FOR RESEARCH, DEVELOP AND USER PERSPECTIVES ON THE BIOPHARMACEUTICAL INDUSTRY AND BIOSIMILAR OF GROWTH HORMONE IN THAILAND.
Authors: มนธันยธรณ์ พงศ์สังกาจ
Keywords: การจัดการธุรกิจ
ยาชีววัตถุ
ยาชีววัตถุคล้ายคลึง
Growth hormone
Issue Date: 27-Aug-2019
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาถึงทิศทางของงานวิจัยและพัฒนาการผลิต วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของตลาดในประเทศไทย วิเคราะห์อุปสรรคและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา การผลิต การนำ Growth hormone ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย และมุมมองของผู้ใช้ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นบุคลากรจากสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบยาชีววัตถุแห่งชาติ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ บุคลากรจากบริษัทยา และญาติผู้ป่วย จากทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน และบริษัทเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย ผลการวิจัยพบว่า ทิศทางของงานวิจัยและพัฒนา หากต้องการให้เกิดการผลิต ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งมีการสนับสนุนให้ทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ส่วนศักยภาพของตลาดในประเทศไทยค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เนื่องมาจาก ข้อบ่งใช้ที่จำกัดที่ใช้ได้โดยกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อเท่านั้น ราคายาที่ค่อนข้างแพงทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยายาก ส่วนโอกาสเชิงพาณิชย์ของยาชีววัตถุ ราคาควรถูกลงเทียบเท่าหรือถูกกว่าของจีน และควรจะถูกกว่ายา Original ครึ่งหนึ่ง หากมีการพัฒนาและผลิตได้เองในประเทศ จะทำเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจด้านประหยัด ค่าใช้จ่าย ในแง่ของการเบิกจ่าย คนไข้สามารถเข้าถึงยาได้มาก นอกจากนี้หากมีการขยายให้ใช้ใน Indication ที่หลากหลายขึ้น อาจจะส่งผลลบในการเพิ่มค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิด Malpractice ส่วนมุมมองของผู้ใช้ พบว่าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรค วิธีการรักษา การปฏิบัติตัว ในระดับปานกลาง ส่วนแพทย์ให้ความสำคัญกับเรื่องผลข้างเคียงและความปลอดภัย และปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้ยาของแพทย์ คือเรื่องของราคายาเป็นหลัก และงบประมาณของผู้ป่วยที่มี
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3096
Other Identifiers: TP BM.026 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.026 2562.pdf1.73 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.