Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3222
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พัลลภา ปีติสันต์ | - |
dc.contributor.author | เจตนิพิฐ บุญสวัสดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:28:30Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:28:30Z | - |
dc.date.issued | 2020-01-17 | - |
dc.identifier | TP BM.054 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3222 | - |
dc.description.abstract | ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะอินซูลิน Patcher ดำเนินธุรกิจโดยบริษัท แพทเชอร์ จำกัด โดยใช้นวัตกรรมของเข็มขนาดเล็ก (Microneedles) ในการนำตัวยาอินซูลินผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ให้ยา สถานการณ์ของโรคเบาหวานทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมีจำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานจำนวน 5 ล้านคน ในปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทำให้โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในประเทศไทย ทำให้จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่จำเป็นต้องใช้อินซูลินที่มารับบริการในโรงพยาบาลขนาดกลาง เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150 รายต่อปี ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันในรายที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินเพื่อการรักษาและบรรเทาอาการมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งยาอินซูลินในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันตามความเร็วในการออกฤทธิ์ (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้ยาจนยาออกฤทธิ์) และความยาวนานของการออกฤทธิ์ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีผู้ป่วย โรคเบาหวานประมาณครึ่งหนึ่งที่ใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลและรับประทานยาไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เนื่องมาจากลืมและการใช้งานของอุปกรณ์ที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานภายนอกบ้านของตน ซึ่งผลิตภัณฑ์อินซูลินเพื่อนลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้ในปัจจุบันยังคงเป็นแบบฉีด (invasive) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเบาหวานต้องทนเจ็บปวดจากการฉีดยาอินซูลินแบบเดิม ทั้งรูปแบบของปากกาและเข็มฉีดยา เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวดและรอยแผลเป็นอันไม่พึงประสงค์ให้กับผู้ใช้ และผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันยังจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้นในการใช้งาน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งานและมีโอกาสที่จะหลงลืมอุปกรณ์บางชิ้นเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้งาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและขาดความต่อเนื่องในการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ยังมีราคาแพงเนื่องจากต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือกลุ่มโรงพยาบาลรัฐและเอกชนขนาดกลาง และร้านขายยาในแหล่งชุมชน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือโรงพยาบาลรัฐและเอกชนขนาดกลางที่มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องใช้ยาอินซูลินมากถึง 150 คนต่อปี ซึ่งต้องใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำทุกวัน โดยบริษัท แพทเชอร์ จำกัด จะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว โดยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง official website และ facebook page และมีการตั้งราคาโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต้นทุนการผลิต (Cost plus pricing) และ การเปรียบเทียบราคากับคู่แข่งในท้องตลาด (Conpetition-based pricing) บริษัท แพทเชอร์ จำกัด ใช้ทุนเริ่มต้นทั้งหมด 10,000,000 บาท โดยเป็นเงินทุน หมุนเวียนที่สำรองไว้สำหรับการบริหารกิจการ ซึ่งเป็นเงิน 8,439,400 บาท โดยในปีแรกจะมียอดขายจากผลิตภัณฑ์แผ่นแปะอินซูลิน 12,072,000 บาท จากการประมาณการโครงการระยะเวลา 5 ปี แผนธุรกิจแผ่นแปะอินซูลิน Patcher จะมีมูลค่าโครงการปัจจุบนั (NPV) อยู่ที่ 41,777,150 บาท อัตราผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ 400.3% และระยะเวลาคืนทุนของ โครงการใช้เวลาประมาณ 3 เดือน | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | แผนธุรกิจ | - |
dc.subject | แผ่นแป่ะอินซูลิน | - |
dc.title | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์แผ่นแปะอินซูลิน Patcher | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.054 2562.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.