Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3254
Title: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรและผลกระทบที่มีต่อพนักงาน: กรณีศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งหนึ่ง =ORGANIZATIONAL STRUCTURE CHANGE AND ITS EFFECTS ON EMPLOYEES: A CASE STUDY OF A SPECIALIZED FINANCIAL INSTITUTION
Authors: ภิระเนตร์ วิทยาธนรัตนา
Keywords: การจัดการธุรกิจ
พนักงาน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร
ความรู้สึก
Issue Date: 24-Feb-2019
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2561
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรและผลกระทบที่มีต่อพนักงาน กรณีศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงาน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรที่มีต่อพนักงาน ปัจจัยที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้สำเร็จ และความรู้สึกของพนักงานในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงาน ฝ่ายส่งเสริมการรับประกันการส่งออกและการลงทุน และฝ่ายวิเคราะห์และปฏิบัติการรับประกัน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 คน จากผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรและเห็นด้วยหากการเปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์กร สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลขณะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร การสื่อสาร และนโยบายที่ชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร ส่งผลกระทบด้านธุรกิจภาพรวมขององค์กร คือ น่าจะทำให้ธุรกิจภาพรวมดีขึ้น และองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ส่งผลกระทบด้านโครงสร้างองค์กร คือ โครงสร้างองค์กรขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้น ส่งผลกระทบด้านบุคลากร คือ พนักงานไม่มีความสุขในการทำงาน และพนักงานต้องยอมรับและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้สำเร็จ ได้แก่ บุคลากร ผู้นำองค์กร และทรัพยากรต่าง ๆ ในด้านความรู้สึกของพนักงานในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสิ้นสุด พนักงานมีความรู้สึกตกใจ ไม่ยอมรับความจริง และตื่นเต้น 2) ระยะกลาง พนักงานมีความรู้สึก ไม่แน่นอน กังวล และสับสน 3) ระยะเริ่มต้นใหม่ พนักงานมีความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร 2 ด้าน ได้แก่ ในด้านดี คือ รู้สึกโล่งใจและสบายใจ และในด้านไม่ดี คือ รู้สึกว่าทำงานหนักขึ้นและเหนื่อยขึ้น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3254
Other Identifiers: TP BM.068 2561
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.068 2561.pdf910.8 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.