Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3266
Title: | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปประเภทพุดดิ้งสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน บริษัท ไทยดีมีล จำกัด ภายใต้แบรนด์ Dee meal pudding= |
Authors: | กัญญา กุศลสินชัย |
Keywords: | NULL |
Issue Date: | 13-May-2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2562 |
Abstract: | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปประเภทพุดดิ้งสำหรับผู้มีภาวะการกลืนลำบาก เกิดจากแนวคิดของผู้วิจัยที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหวานสำหรับผู้มีภาวะการกลืนลำบากในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เนื่องจากโรคที่มีผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน และวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงการทำงานต่างๆของร่างกาย รวมทั้งการกลืน (Presbyphagia) ด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นกับกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)ได้ง่ายขึ้น ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปประเภทพุดดิ้ง โดยศึกษาตามปัจจัยการเลือกซื้อ 3 ด้าน คือ ด้านรสชาติ ด้านวัตถุดิบ และด้านบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย โดยศึกษาพฤติกรรมประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากการเก็บแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูล พบว่าสาเหตุหลักที่ผู้มีภาวะการกลืนลำบากไม่เคยเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปประเภทพุดดิ้งเพื่อผู้มีภาวะการกลืนลำบาก คือ รสชาติไม่อร่อยและไม่รู้ถึงคุณประโยชน์ที่แท้จริงของอาหารสำเร็จรูปประเภทพุดดิ้ง และผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้าคือแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่สะดวกคือร้านค้าภายในโรงพยาบาล จากการลงทุนในแผนธุรกิจนี้มีมูลค่าการลงทุนที่ 2,000,000 บาท สามารถสร้างมูลค่าปัจจุบัน(NPV)ได้ 2,463,469.85 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน(IRR)เท่ากับ 45% ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3 ปี 2 เดือน โดยคิดจากการลงทุนในโครงการตลอดระยะเวลา 5 ปี แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้คุ้มค่าแก่การลงทุน นอกจากจะมีมูลค่าทางธุรกิจแล้วยังเป็นการช่วยผู้มีภาวะการกลืนลำบากในประเทศไทยด้วย |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3266 |
Other Identifiers: | TP FB.003 2562 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FB.003 2562.pdf | 4.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.