Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3275
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ชนินทร์ อยู่เพชร | - |
dc.contributor.author | ปัณฑ์ชนิต นันตติกูล | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:29:24Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:29:24Z | - |
dc.date.issued | 2019-05-14 | - |
dc.identifier | TP MS.049 2561 | - |
dc.identifier.citation | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3275 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชมภาพยนตร์แฟนเดย์และระดับความรู้สึกร่วมในภาพยนตร์ ที่มีต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว และความตั้งใจในการไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงผลของการชมภาพยนตร์แฟนเดย์ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ และองค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรไทยที่รู้จักฮอกไกโด ซึ่งเคยและไม่เคยชมภาพยนตร์เรื่องแฟนเดย์ฯ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบไม่คำนึงถึงโอกาสความน่าจะเป็น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 433 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่เคยดูภาพยนตร์ 263 คน กลุ่มที่ไม่เคยดูภาพยนตร์ 170 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) โดยส่วนใหญ่การชมภาพยนตร์แฟนเดย์ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ ยกเว้นการเห็นฉากในภาพยนตร์ ที่ทำให้ผู้ชมอยากไปท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ได้ และองค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์มากที่สุด ได้แก่ ด้านนักแสดง รองลงมาเป็นด้านภาพ โดยพบว่าองค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ กลุ่มอายุ และระดับรายได้ ยกเว้นองค์ประกอบด้านตัวละคร ที่พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) โดยรวมแล้วการชมภาพยนตร์แฟนเดย์ ไม่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว0และความตั้งใจในการไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยว ยกเว้นภาพลักษณ์ด้านการรับรู้ ที่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่เคยดูและไม่เคยดูภาพยนตร์ในหัวข้อ ฮอกไกโดมีทิวทัศน์ที่สวยงาม และการไปท่องเที่ยวที่ฮอกไกโดเป็นสิ่งที่คุ้มค่าเงิน 3) ระดับความรู้สึกร่วมในภาพยนตร์แฟนเดย์ฯ มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว และความตั้งใจในการไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากงานวิจัย คือ การจะใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือพัฒนาภาพลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้ผล จะต้องทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมต่อภาพยนตร์มากๆ และให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของภาพยนตร์ด้านนักแสดง, ภาพ, และสาระของเรื่อง เป็นหลัก รวมทั้งต้องนำเสนอความน่าสนใจของสถานที่ผ่านทางภาพยนตร์ในหลายๆแง่มุม เช่น อาหาร ผู้คน และกิจกรรม อีกด้วย | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การท่องเที่ยว | - |
dc.subject | ภาพยนตร์ | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | สถานที่ท่องเที่ยว | - |
dc.subject | ความรู้สึกร่วม | - |
dc.title | การท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์แฟนเดย์...แฟนกันแค่วันเดียว =FILM INDUCED TOURISM: THE CASE OF MOVIE “ONE DAY” | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.049 2561.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.