Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3286
Title: | การศึกษาปัจจัยทีี่ทำให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่อย่างยั่งยืน ตามแนวคิด Honeybee leadership = |
Authors: | ทิชารัตน์ ประดิษฐ์พงศ์ |
Keywords: | ทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร อุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจสายการบิน องค์กรยั่งยืน |
Issue Date: | 14-May-2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2561 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Honeybee Leadership ที่มีผลต่อ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านระดับผลสำเร็จในการดำเนินการ (Performance Outcomes) และความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบเชิงปริมาณ แบบวัดผลครั้งเดียว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 393 คน นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี ทดสอบความเชื่อมั่นของข้อมูล (Reliability test), วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis), สถิติสหสัมพันธ์ (Correlations) และการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) โดยผู้วิจัยได้ทำการทดสอบ 2 วิธีคือ การทดสอบทฤษฎีแนวคิดภาวะผู้นำองค์กรอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Honeybee Leadership 23 ปัจจัย พบว่ามี 11 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการดำเนินการ คือ Long Term Perspective, Organizational Change, Vision's Role in Business, Decision – making, Team Orientation, Culture, Knowledge Sharing and Retention, Trust, Innovation, Staff Engagement, Quality และมี 2 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จการดำเนินงาน ได้แก่ Staff Engagement, Culture ส่วนอิทธิพลต่อความพึงพอใจนั้นมี 3 ปัจจัย คือ Staff Engagement, Quality และ Team Orientation ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธีวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) พบว่าสามารถจัดกลุ่มตัวแปรได้เป็น 3 ปัจจัยหลักดังนี้ 1. วัฒนธรรมความเชื่อใจและทีมนวัตกรรม (Trusting Culture & Innovative Team) 2. ความผูกพันอย่างมีคุณภาพ (Quality Engagement) และ 3. การบริหารจัดการบุคลากรในระยะยาว (Long Term People Management) โดย ทั้ง 3 กลุ่มปัจจัย มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลสำเร็จในการดำเนินการ และความพึงพอใจของพนักงาน ส่วนความสามามารถในการทำนายนั้น พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อระดับผลสำเร็จการดำเนินการ และมีเพียง 2 ปัจจัยคือ Trusting Culture & Innovative Team และ Quality Engagement ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงาน สำหรับบทสรุปในการประยุกต์ใช้ (Managerial Implications) นั้นสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ภายในเล่ม |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3286 |
Other Identifiers: | TP HOM.010 2561 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP HOM.010 2561.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.