Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorวรัญญา จิตรภักดี-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:47:00Z-
dc.date.available2021-03-23T10:47:00Z-
dc.date.issued2020-03-05-
dc.identifierTP FM.023 2562-
dc.identifier.citation2562-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3359-
dc.description.abstractบทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลอง Black-Litterman โดยใช้วิธีการผสมมุมมองผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบผ่านปัจจัยของ Carhart Four Factor Model ได้แก่ ปัจจัยด้านขนาด ปัจจัยด้านมูลค่า และปัจจัยด้านโมเมนตัม โดยทำการศึกษาหลักทรัพย์กลุ่มดัชนี SET100 ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลา 8 ปี จากการศึกษาพบว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ใช้มุมมองผ่านปัจจัยด้านโมเมนตัม (BLM-WML) ให้ผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มหลักทรัพย์ที่ใช้มุมมองผ่านปัจจัยด้านขนาด ปัจจัยด้านมูลค่า และปัจจัยด้านโมเมนตัม (BLM-ALL) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหลักทรัพย์ตลาดทั้งหมด (SET TRI, SET50 TRI, SET100 TRI และ SETHD TRI) พบว่าทั้ง 2 กลุ่มหลักทรัพย์มีผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาดทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนหลังปรับความเสี่ยง พบว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ใช้มุมมองผ่านปัจจัยด้านโมเมนตัมมีค่า Sharpe Ratio, Treynor Ratio และ Jensen’s Alpha สูงที่สุด และมีค่าสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาดทั้งหมดเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กลุ่มหลักทรัพย์ที่ใช้มุมมองผ่านปัจจัยด้านโมเมนตัมเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงรวมที่ดีที่สุด โดยวิธีดังกล่าวเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ตลาดได้-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectCarhart's four factor model-
dc.subjectแบบจำลอง Black-Litterman-
dc.subjectRelative View-
dc.titleการทดสอบประสิทธิภาพของการลงทุนตามแบบจำลอง Black-Litterman ที่ใช้การผสมมุมมองผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย =A TEST OF THE EFFICIENCY OF BLACK-LITTERMAN MODEL BY USING RELATIVE VIEW IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.023 2562.pdf1.85 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.