Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3411
Title: ปัจจัยที่ทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพเลือกซื้อสติกเกอร์ไลน์มาใช้สนทนา =FACTORS AFFECTING TO THE PURCHASE OF LINE STICKER FOR CHATITING IN BANGKOK.
Authors: ปลิสา นิธิเจษฎาวงศ์
Keywords: การจัดการธุรกิจ
ความเสี่ยง
ความพึงพอใจ
การซื้อซ้ำ
Issue Date: 8-May-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: ธุรกิจหลักอีกอย่างที่สำคัญของบริษัท LINE นั้นคือการขายสติกเกอร์ โดยในปี 2561 มีคนไทยส่งสติกเกอร์ไลน์ (สติกเกอร์ที่เป็นการซื้อ) มากกว่า 10,000 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งเฉลี่ยตกวันละ 31 ล้านครั้ง โดยธุรกิจสติกเกอร์ไลน์ในประเทศไทยเติบโตเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย แซงหน้าประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดเนเซีย (Ms.นกยูง, 2019) โดยยอดผู้ซื้อสติกเกอร์เติบโตพุ่งสูงขึ้นถึง 28% และจำนวนยอดดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์เพิ่มสูงขึ้นถึง 52% ในไตรมาสแรกของปี 2561 (MEANing, 2018) ความนิยมในตัวสติกเกอร์ LINE นำมาซึ่งธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้บริษัท NAVER ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของลูกค้า LINE ทีมนักการตลาดของผู้ประกอบการเจ้าใหญ่หลายราย หันมาใช้ LINE เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตลาดเพราะถือว่า LINE เป็นสิ่งที่ลูกค้าจำนวนมากใช้เวลาอยู่กับมันเป็นประจำ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางการโฆษณาแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำหรือส่งเสริมการขาย ไม่เว้นแม้แต่การใช้สติกเกอร์ LINE ในการคืนกำไรสู่สังคม เช่น LINE ออกแบบสติกเกอร์ชุดเฉพาะกิจสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยในฟิลิปปินส์ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการบริจาคเงินผ่านการดาวโหลดสติกเกอร์ชุดนี้ ซึ่งผลลัพธ์ของการบริจาคเมื่อหักยอดค่าใช้จ่ายแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 58,773,190 เยน ซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องกลุ่มธุรกิจไลน์สติกเกอร์มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและสามารถสร้างสถิติใหม่ให้กับประเทศไทยตัวเลขเหล่านี้คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สติกเกอร์ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการสื่อสารที่ยังเป็นเทรนด์และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพเลือกซื้อสติกเกอร์ไลน์มาใช้สนทนา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบริษัท LINE และทีมสติกเกอร์ไลน์ในการรวางแผน กลยุทธ์ทางการตลาด พัฒนาธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริโภคที่เคยซื้อสติกเกอร์มาใช้สนทนา จำนวน 385 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น และเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวก
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3411
Other Identifiers: TP BM.105 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.105 2562.pdf716.45 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.