Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3478
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | กิตติชัย ราชมหา | - |
dc.contributor.author | กฤติเดช สดเอี่ยมกฤษดา | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:47:59Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:47:59Z | - |
dc.date.issued | 2020-07-03 | - |
dc.identifier | TP EM.038 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3478 | - |
dc.description.abstract | รัฐบาลปัจจุบันได้มีการกำหนดนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งเป็นโดยมีฐานคิดหลัก 3 ข้อ คือ 1.เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และหนึ่งในวิธีที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และมีส่วนที่จะทำให้ นโยบาย Thailand 4.0 ( ไทยแลนด์ 4.0 ) ประสบผลได้เร็วขึ้น คือการแบ่งปันทรัพยากร (Sharing Economy) ซึ่งกันและกันซึ่งจะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 ได้ด้วยธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise, IDE) ที่มีกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้มุ่งเน้นการศึกษาการช่วยเหลือของภาคธุรกิจนวัตกรรมประเภทเทคโนโลยีดิจิตอล ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจจนกระทั่งเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้วิธีแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sample) ด้วยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นธุรกิจนวัตกรรมประเภทเทคโนโลยีดิจิตอลในประเทศไทย โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 ตัวอย่างประกอบด้วยผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมดิจิตอล 14 หน่วยงานภาครัฐบาล จำนวน 3 ตัวอย่าง และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 3 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (Structure Interview) และวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัยนี้ โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Directed Content Analysis) การจัดข้อมูลให้เป็นระบบ โดยใช้วิธีบรรยาย เชื่อมโยงกับสิ่งที่ศึกษา ทำการจัดประเภทข้อมูล สังเคราะห์ ค้นหาแบบแผนและตีความข้อมูล ที่ผู้วิจัยได้รวบรวมมา รายงานการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้วางแผนและออกแบบนโยบายได้จริงจาก ข้อมูลจริงได้จากการวิจัย | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | - |
dc.subject | ผู้ประกอบการ | - |
dc.subject | ปัจจัยความสำเร็จ | - |
dc.subject | ธุรกิจนวัตกรรมดิจิตอล | - |
dc.title | การศึกษาคุณลักษณะ ปัจจัยความสำเร็จ และอุปสรรคของรูปแบบกลยุทธ์การแบ่งปันเชิงเศรษฐกิจ (Sharing Economy) ในมิติของการสนับสนุนระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมดิจิตอลที่มีผู้ประกอบการเริ่มต้นใหม่ของประเทศไทย =A STUDY OF THE SUCCESS FACTORS AND OBSTACLES OF SHARING ECONOMY THAT AFFECT THE SUSTAINABLE GROWTH OF THAILAND'S DIGITAL INNOVATION DRIVEN ENTERPRISE. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.038 2562.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.