Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3587
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พัฒน์ธนะ บุญชู | - |
dc.contributor.author | วศิกา กระเทศ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:49:27Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:49:27Z | - |
dc.date.issued | 2020-11-10 | - |
dc.identifier | TP MM.018 2563 | - |
dc.identifier.citation | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3587 | - |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันสัตว์เลี้ยงเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตคนไทยมากขึ้น โดยสิ่งที่น่าสังเกตควบคู่กันไปด้วยคือ อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนโสด คู่รักไม่มีบุตร คู่รักร่วมเพศและผู้สูงอายุ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้คนส่วนใหญ่หันมาสนใจเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เนื่องด้วยการเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถช่วยผ่อนคลายความเหงาและลดความเครียดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตและการทำงานให้ลดน้อยลงได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นตัวผลักดันให้ตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีประชากรคนโสดเพิ่มขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากการแต่งงานที่ลดลงและการหย่าร้างที่มากขึ้น อีกทั้งยังพบว่าคนโสดมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวเฉลี่ยถึง 11% และยิ่งบุคคลใดก็ตามอยู่คนเดียวหรืออยู่ตามลำพังอาจมีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยวและมีความเครียดมากกว่าคนทั่วไปได้ ดังนั้น การมีสัตว์เลี้ยงมาอยู่เป็นเพื่อนทำให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้เลี้ยงกับสัตว์เลี้ยงซึ่งสามารถช่วยลดความเหงาและความเครียดลงได้ โดยความรักและความผูกพันที่ผู้เลี้ยงมีต่อสัตว์เลี้ยงทำให้ผู้เลี้ยงใช้จ่ายเงินเพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีความสุขและยินดีที่จะทุ่มเทเงินเพื่อใช้จ่ายไปกับสินค้าเพื่อสัตว์ ดังนั้น กลุ่มคนโสดจึงเป็นกลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจในการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ ความเหงากับการใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง ความเครียดกับการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ ความเครียดกับการใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยงและศึกษาสถานะความโสดในฐานะตัวแปรกำกับต่อความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านความเหงาและความเครียดต่อการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์และการใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ ยังศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของการเลี้ยงสัตว์และการใช้บริการร้านสัตว์เลี้ยงของกลุ่มคนโสด ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าความเครียดส่งผลต่อการใช้จ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยในที่นี้เป็นประเภทของความเครียดทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันแต่ไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ ส่วนความเหงาไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ แต่สถานะความโสดมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์และสถานะความโสดมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สามารถจำแนกกลุ่มคนโสดทั้ง 10 คนที่ตัดสินใจเลี้ยงสัตว์ออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่เลี้ยงเพราะความสงสาร กลุ่มที่เริ่มจากที่สมาชิกในครอบครัวเลี้ยงมาก่อนและกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งใจเลี้ยงแต่แรก | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การตลาด | - |
dc.subject | สัตว์เลี้ยง | - |
dc.subject | คนโสด | - |
dc.title | พฤติกรรมการใช้บริการร้านสัตว์เลี้ยงของกลุ่มคนโสดที่นิยมเลี้ยงสัตว์ =BEHAVIORS OF SINGLE CONSUMERS TOWARDS THE USE PET SHO SERVICES. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.018 2563.pdf | 14.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.