Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3624
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorกิตติชัย ราชมหา-
dc.contributor.authorพิรุณห์ ยิ่งยงศักดิ์ศรี-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:50:02Z-
dc.date.available2021-03-23T10:50:02Z-
dc.date.issued2020-11-24-
dc.identifierTP BM.016 2563-
dc.identifier.citation2563-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3624-
dc.description.abstractในช่วงปี พ.ศ. 2560 เรื่อยมา ปริมาณการบริโภคของสินค้าเกษตรในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผัก ผลไม้นานาชนิดรวมถึงพริก อันเนื่องมาจากเทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นของคนไทย แต่ทว่าพื้นที่เพาะปลูกพริกของเกษตรกรในประเทศกลับสวนทางกันและมีแนวโน้มจะหันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเนื่องจากหลายปัจจัยประกอบกันที่อาจทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถแข่งขันกับราคาในตลาดได้ จึงเกิดแนวคิดที่จะนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาจุดแข็งของสินค้าพริกในประเทศจากการนำพริกพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท (Super-hot chili peppers) ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญในพริกคือ capsaicin สูงที่สุดในโลก แต่การปลูกพริกในพื้นที่ปัจจุบันยังมีอุปสรรค์จากสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไม้ได้ เช่น ฤดูกาล ภัยแล้ง เป็นต้น จึงเกิดแนวคิดที่จะนำพริกเข้ามาปลูกในระบบโรงเรือนแบบปิด คือ Plant factory เพื่อเพิ่มจุดแข็งในด้านผลผลิตและกลบจุดด้อยของฟาร์มพริกที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายนอก อย่างไรก็ตามการออกสินค้าใหม่สู่ตลาดยังคงต้องการความรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการล้มเหลว การวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคพริกในระดับองค์กรที่นำพริกไปต่อยอดเป็นสินค้าอื่นๆทั้งในแบบใช้เป็นส่วนผสม สกัดหรือแปรรูป (Business-to-Business)(B2B) จากการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค โดยจะมีการเก็บข้อมูลจากภาคอุปทาน จากการใช้บทสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายผลแบบกลุ่มในเชิงภาพรวม จนได้องค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการนำไปต่อยอดหรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการต่อไป ผลกการวิจัยให้ข้อสรุปถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคพริกในระดับต้นนํ้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ พ่อค้าคนกลาง โรงงานสกัดและโรงงานแปรรูปที่มีข้อเรียกร้องต่อผู้ผลิตหรือเกษตรกรที่ต่างกันอกไป และรูปแบบโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งแสดงเส้นทางการเดินทางของสินค้าจากต้นนํ้าไปจนถึงผู้บริโภค จึงสรุปได้ว่ารูปแบบธุรกิจที่สอดคล้องกันกับพริกซุปเปอร์ฮอทที่ผ่านการปลูกจาก Plant Factory มากที่สุดคือธุรกิจโรงงานสกัดพริกซึ่งมีปัจจัยความต้องการจากวัตถุดิบสอดคล้องกันมากที่สุดจากทุกอุตสาหกรรม-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการจัดการธุรกิจ-
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค-
dc.subjectความต้องการตลาด-
dc.subjectพริกขี้หนู-
dc.subjectพริกซุปเปอร์ฮอท-
dc.subjectการวิจัยเชิงคุณภาพ-
dc.titleการศึกษาปัจจัยความต้องการตลาดและรูปแบบธุรกิจนวัตกรรมเกษตรสำหรับพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์=THE COMMERCIAL FEASIBILITIES STUDY OF DEMANDS AND AGRICULTURAL BUSINESS MODEL INNOVATION OF SUPER-HOT CHILI PEPPERS.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.016 2563.pdf2.93 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.