Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3670
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorณัฐสิทธิ์ เกิดศรี-
dc.contributor.authorภัทริญญา ลิมปนิลชาติ-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:50:54Z-
dc.date.available2021-03-23T10:50:54Z-
dc.date.issued2020-12-14-
dc.identifierTP MS.028 2563-
dc.identifier.citation2563-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3670-
dc.description.abstractรูปแบบการทำธุรกรรมต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น โดยเปลี่ยนแปลงจากการทำธุรกรรม รูปแบบดั้งเดิม (Traditional Methods) เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการให้สินเชื่อมีการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย Peer-to-Peer Lending นั้นเป็นการทำธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจับคู่ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ ที่สามารถทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงิน ปัจจุบันเป็นแหล่งให้กู้เงินทางเลือก (Alternative Lending) ที่ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ สำหรับ Peer-to-Peer Lending Platform ในประเทศไทย ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขออนุญาต เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการ Peer-to-Peer Lending Platform แต่ยังมีจำนวนไม่มากนัก งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนา Peer-to-Peer Lending Platform ที่ตอบโจทย์นักลงทุน กรณีศึกษา เป็นการศึกษาโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญระบบในเครือธุรกิจธนาคาร โดยใช้ Future-oriented Technology Analysis (FTA) เพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา และใช้ Technology Roadmap เป็นแนวทางในการพัฒนา Peer-to-Peer Lending Platform ที่เหมาะสมกับธุรกิจ และวางแนวการเฝ้าระวังสำหรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ผลการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบ ออกแบบกลยุทธ์ และวางแนวทางการเฝ้าระวังแผนที่นาทางการพัฒนา Peer-to-Peer Lending Platform ที่ตอบโจทย์นักลงทุน ในท้ายสุดนี้ แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา Peer-to-Peer Lending Platform นี้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่จะส่งผลต่อธุรกิจของธนาคาร ซึ่งเมื่อนามาวิเคราะห์และอภิปรายผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทำให้สามารถประเมินและระบุถึงผลกระทบเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยธนาคารควรเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้แผนที่นาทางยังคงใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อนำแผนที่นำทางไปใช้ควรที่จะนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจ สื่อสารอย่างชัดเจน เพื่อให้การนำแผนที่นำทางนี้มาใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectแผนที่นำทาง-
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์-
dc.subjectPeer-to-Peer Lending-
dc.subjectTechnology Roadmap-
dc.titleการวิเคราะห์จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนา Peer-to-Peer Lending Platform ที่ตอบโจทย์นักลงทุน กรณีศึกษา = ROADMAP DEVELOPMENT FOR PEER-TO-PEER LENDING PLATFORM: A CASE STUDY.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.028 2563.pdf2.45 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.