Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3908
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ศิริสุข รักถิ่น | - |
dc.contributor.author | สรัญญา ซื่อสัตย์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-26T05:47:38Z | - |
dc.date.available | 2021-03-26T05:47:38Z | - |
dc.date.issued | 2021-03-20 | - |
dc.identifier | TP MS.002 2564 | - |
dc.identifier.citation | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3908 | - |
dc.description.abstract | เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อช่วงปลายปี 2562 มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองอู่ฮั่นของสาธารณรัฐประชาชนจีน เชื้อโรคได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีผู้คนเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ โรคระบาดยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยในช่วงต้นปี 2563 ทำให้เกิดแนวทางการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค แนวทางดังกล่าวทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป คำศัพท์อย่าง New Normal ถูกใช้อธิบายถึงสถานการณ์ได้ชัดเจนที่สุด โดยในบริบทของธุรกิจ เกิดภาพการทำงานรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Work from home หรือการทำงานจากบ้าน เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสและแพร่กระจายเชื้อ การวิจัยครั้งนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการทำงานจากบ้านของพนักงานในบริษัทไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทวี ที่มีรูปแบบการทำงานจากบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 174 คน ผ่านเครื่องมือการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีการกำหนดตัวแปรต้น ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพ ตำแหน่งงาน ลักษณะงานและที่อยู่อาศัย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากบ้าน ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่าย ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวย บรรทัดฐานที่ทำงาน บรรทัดฐานที่บ้าน โดยมีตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจต่องาน ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ความอยู่ดีมีสุข ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และตัวแปรกำกับ ได้แก่ การรับรู้ต่อวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 และ ความยากลำบากในการเดินทาง จากผลการวิจัยพบว่า 1.) พนักงานที่มีช่วงระดับอายุแตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่องานที่แตกต่างกัน 2.) พนักงานที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีความอยู่ดีมีสุขที่แตกต่างกัน 3.) พนักงานที่มีลักษณะงานที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่องาน ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวที่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้านมีอิทธิพลต่อความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เช่นเดียวกับปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้านมีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุข อีกทั้งปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้านมีอิทธิพลต่อความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน ในการสรุปผลของตัวแปรกำกับ พบว่า การรับรู้ต่อวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นตัวแปรกำกับระหว่างความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ถึงความง่าย ปัจจัยบรรทัดฐานที่บ้านกับความพึงพอใจต่องาน นอกจากนี้ การรับรู้ต่อวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นตัวแปรกำกับระหว่างความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายกับความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว การรับรู้ต่อวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นตัวแปรกำกับระหว่างความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ถึงความง่าย ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยกับความอยู่ดีมีสุข ผลวิจัยดังกล่าว จะสามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาเชิงกลยุทธ์ให้กับองค์กร หากมีการปรับใช้นโยบายการทำงานจากบ้าน (Work from home) ในอนาคต นอกจากนี้ผลการศึกษาจากงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถสะท้อนสิ่งที่องค์กรได้ดำเนินการไปแล้วในปัจจุบันว่ามีความเหมาะสม สอดคล้อง หรือมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดอีกด้วย | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | WORK FROM HOME | - |
dc.subject | บรรทัดฐานที่บ้าน | - |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการทางานจากบ้านของพนักงานในบริษัทไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 =FACTORS INFLUENCING EMPLOYEE OPINION AND SATISFACTION FOR WORK FROM HOME IN THAI COMPANIES DURING THE COVID-19 OUTBREAK. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.002 2564.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.