Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3928
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ศิริสุข รักถิ่น | - |
dc.contributor.author | ลักษิกา, นุชอุดม | - |
dc.date.accessioned | 2021-04-05T04:33:02Z | - |
dc.date.available | 2021-04-05T04:33:02Z | - |
dc.date.issued | 2021-03-29 | - |
dc.identifier.other | TP MS.012 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3928 | - |
dc.description | 106 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัย “ทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ประเทศไทยต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานที่ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการทำงานที่สำนักงานสู่การทำงานที่บ้าน (Work from home) รวมถึงเพื่อเปรียบเทียบ Productivity ในการทำงานและมุมมองด้าน Work Life Balance ของพนักงาน เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ที่สามารถนำไปสู่การนำเสนอแนวทางหรือนโยบายที่เน้นการทำงานเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของพนักงานและ Productivity สูงสุด อีกทั้งศึกษาถึงผลการทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรทั้งทางด้านบวกและด้านลบจากการเปลี่ยนวิถีรูปแบบการทำงานของพนักงาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชากรตัวอย่างกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรม FMCG ประเทศไทยโดยเลือกศึกษาเฉพาะกลุ่มพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 และจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากสำนักงานเป็นการทำงานจากบ้านจำนวน 244 ท่าน นอกจากนั้นเพื่อให้ได้คำตอบในด้านความพึงพอใจของรูปแบบการทำงานจากบ้าน รวมถึงการเก็บข้อมูลด้านความคิดเห็นจากพนักงานในมุมมองต่างๆมากขึ้น ได้ทำการสัมภาษณ์พนักงานเพิ่มเติมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) อีกจำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา จากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานจากบ้านตามกรอบแนวคิดการวิจัยนี้ประกอบด้วยทั้งหมด 6 ปัจจัยได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจาการใช้งาน การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวย บรรทัดฐานที่ทำงาน บรรทัดฐานที่บ้าน ร่วมด้วยตัวแปรกำกับ 2 ปัจจัย คือ การรับรู้ต่อสถานการณ์วิกฤต COVID-19 และความยากลำบากในการเดินทาง พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีผลต่อทัศนคติในการทำงานจากบ้าน (Work from home) ประกอบไปด้วย อายุ ระดับรายได้ ลักษณะงาน ที่อยู่อาศัย เวลาเดินทาง และวิธีการเดินทาง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่ทำงานจะส่งผลต่อ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในงาน และปัจจัยด้านความอยู่ดีมีสุขมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยด้านบรรทัดฐานที่บ้านจะส่งผลต่อ ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว และปัจจัยด้านความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมากที่สุด และเมื่อพิจารณาตัวแปรกำกับคือการรับรู้ต่อสถานการณ์วิกฤต COVID-19 และความยากลำบากในการเดินทาง พบว่าทั้งสองปัจจัยจะส่งผลกระทบต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | en_US |
dc.subject | Work from home | en_US |
dc.subject | COVID-19 | en_US |
dc.subject | การทำงาน | en_US |
dc.subject | สินค้าอุปโภคบริโภค | en_US |
dc.title | ทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ประเทศไทยต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19 | en_US |
dc.title.alternative | SATISFACTION OF EMPLOYEES OF THE CONSUMER GOODS INDUSTRY (FMCG) IN THAILAND ON WORK FROM HOME DURING THE COVID-19 CRISIS SITUATION | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.012 2564.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.