Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3948
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ศิริสุข รักถิ่น | - |
dc.contributor.author | วิมลสิริ, หลอดทอง | - |
dc.date.accessioned | 2021-04-20T04:49:39Z | - |
dc.date.available | 2021-04-20T04:49:39Z | - |
dc.date.issued | 2021-02-07 | - |
dc.identifier.other | TP MS.017 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3948 | - |
dc.description | 157 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | จากสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) ทำให้มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)การทำงานจากที่บ้าน (Work from home) จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยการทำงานจากที่บ้านเป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอาจจะส่งผลกระทบกับความพึงพอใจในการทำงาน การศึกษาในครั้งนี้จึงได้ทำการศึกษาความพึงพอใจในการทำงานจากที่บ้าน Work from home ของพนักงานช่วง Generation X และ Generation Y ในธุรกิจค้าปลีก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน แบ่งออกเป็นพนักงานช่วงเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ 102 คน และพนักงานเจเนอเรชั่นวาย 188 คน โดยการใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการเก็บแบบสอบถามและการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีตัวแปรต้น คือ ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพ ลักษณะงาน ตำแหน่งงาน ที่อยู่อาศัย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากบ้าน ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่าย ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวย บรรทัดฐานที่ทำงาน บรรทัดฐานที่บ้าน โดยมีตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจต่องาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน ความอยู่ดีมีสุข ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และตัวแปรกำกับ คือ การรับรู้ต่อวิกฤตการณ์โควิด-19 ความยากลำบากในการเดินทาง จากผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานที่มีการศึกษา ตำแหน่งงาน ลักษณะงานและที่อยู่อาศัยที่ต่างกันจะส่งผลให้ความพึงพอใจต่องานแตกต่างกัน 2) พนักงานที่มีการศึกษา สถานภาพและตำแหน่งงานที่ต่างกันจะส่งผลให้ความสมดุลระหว่างชีวิตและงานแตกต่างกัน 3) พนักงานที่มีการศึกษา และลักษณะงานที่ต่างกันจะส่งผลให้ความอยู่ดีมีสุขที่แตกต่างกัน 4) พนักงานที่มีเพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน และที่อยู่อาศัยต่างกันจะส่งผลให้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานแตกต่างกัน โดยปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุและรายได้ไม่ส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างกัน รวมถึงกลุ่มพนักงานเจเนอเรชันเอ็กซ์และกลุ่มพนักงานเจเนอเรชันวาย ก็ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน ความอยู่ดีมีสุข ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานที่แตกต่างกัน และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าปัจจัยการทำงานจากบ้านที่ส่งผลต่อกลุ่มพนักงานที่มีเจเนอเรชันที่แตกต่างกัน คือ ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์และปัจจัยบรรทัดฐานที่ทำงาน โดยปัจจัยการรับรู้ถึงความง่าย ปัจจัยทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ปัจจัยเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวย และปัจจัยบรรทัดฐานที่บ้าน ไม่ส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างกัน รวมถึงกลุ่มพนักงานเจเนอเรชันเอ็กซ์และกลุ่มพนักงานเจเนอเรชันวาย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | en_US |
dc.subject | การทำงานจากที่บ้าน | en_US |
dc.subject | Work from home | en_US |
dc.subject | ความพึงพอใจ | en_US |
dc.subject | เจเนอเรชันเอ็กซ์ | en_US |
dc.subject | เจเนอเรชันวาย | en_US |
dc.title | ความพึงพอใจในการทำงานจากที่บ้าน Work From Home ของพนักงานช่วง Generation X และ Generation Y ในธุรกิจค้าปลีก | en_US |
dc.title.alternative | SATISFACTION ON WORK FROM HOME FOR EMPLOYEES GENERATION X AND GENERATION Y IN RETAIL BUSINESS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.017 2564.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.