Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3949
Title: | การศึกษาวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนในรูปแบบการพำนักระยะยาว (Long Stay Wellness Tourism) เพื่อความยั่งยืนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน |
Other Titles: | STRATEGIES TO MANAGE A LONG STAY WELLNESS TOURISM BUSINESS IN A LOCAL COMMUNITY FOR SUSTAINABILITY AND INCREASING COMPETITIVE ADVANTAGE. |
Authors: | สิริกันต์, สิทธิไทย |
Keywords: | การจัดการและกลยุทธ์ การท่องเที่ยว กลยุทธ์ระดับธุรกิจ กลยุทธ์ระดับองค์กร |
Issue Date: | 7-Feb-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารและจัดการอุตสาหกรรมสุขภาพชุมชนในรูปแบบการพำนักระยะยาว วิเคราะห์และประเมินศักยภาพทางกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Level Strategy) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) และ กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) ศึกษาเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ช่วยเสริมสร้างศักยภาพ และการวางแผนพัฒนาธุรกิจสุขภาพในรูปแบบการพำนักระยะยาวอย่างยั่งยืน ตลอดจนศึกษารูปแบบกลยุทธ์ในการจัดการจากเหตุการณ์ Covid-19 โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Sampling) โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 15 ท่าน จาก 5 องค์กร จากนั้นได้ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ เพื่อความยั่งยืนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนั้น สามารถสรุปได้ว่าในแง่ของกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Level Strategy) นั้นฝ่ายสนับสนุนกิจกรรม อันได้แก่ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่าย IT ฝ่ายจัดซื้อ และโครงสร้างพื้นฐาน นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการผลักดันกิจกรรมหลักให้ประสบผลสำเร็จในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายหลักขององค์กร ในกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) จากผลการวิจัยพบว่ามีกลยุทธ์หลักๆในระดับธุรกิจแบ่งออกเป็นสองประเด็นหลักๆ คือ Differentiation โดยนำเสนอสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นให้ผู้รับบริการรู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่างที่ไม่มีในผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้เป็นจุดขายอันโดดเด่นขององค์กร (Unique Selling Point) และสร้างภาพจำเกี่ยวกับแบรนด์ขององค์กรให้เกิดในสายตาของกลุ่มลูกค้า (Value proposition) และอีกกลยุทธ์คือหากลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง ( Focus Niche) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ เช่นกลุ่มคนใส่ใจดูแลสุขภาพ กลุ่มคนสนในความงาม กลุ่มคนสูงอายุ เป็นต้น นอกจากกลยุทธ์ข้างต้นพบว่าหลายธุรกิจภาคเอกชนมีการเติบโตด้วยกลยุทธ์ Vertical Growth ขยายสู่ธุรกิจที่เกี่ยวกับกระบวนการธุรกิจที่ทำอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลยุทธ์ (Diversification) ทั้งแบบ Concentric Diversification หรือการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม และขยายตัวธุรกิจแบบ Conglomerate Diversification ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจเดิมที่มี และจากการวิจัยกลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy) พบว่าในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพขององค์กรขนาดใหญ่มีการหาพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliance) เช่น ธุรกิจโรงแรมร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและช่วงชิงอำนาจการแข่งขันในตลาด อย่างไรก็ดีธุรกิจขนาดเล็กในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในรูปแบบเดย์สปา (Day Spa) และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชน (Wellness Community Base) ต้องปรับกลยุทธ์ตัวเองแบบถดถอย (Retrenchment Strategy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากเหตุการณ์โควิดที่รัฐสั่งให้ปิดกิจการในช่วงกักเก็บตัว (Quarantine) ทำให้หลายแห่งมีการเลิกกิจการ การลดการลงทุนในการขยายสาขา หรือ แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่สามารถผลกาไรได้ก็มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ มีการลดจานวนพนักงาน ทำงานแบบ Multi skills มากขึ้น |
Description: | 61 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3949 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.018 2564.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.