Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorกิติชัย ราชมหา-
dc.contributor.authorพัชรพล, แก้วพุกผา-
dc.date.accessioned2021-05-19T09:36:20Z-
dc.date.available2021-05-19T09:36:20Z-
dc.date.issued2021-03-04-
dc.identifier.otherTP FM.002 2564-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3983-
dc.description325 แผ่นen_US
dc.description.abstractหนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการในช่วงแรกเริ่มธุรกิจ คือ ความสามารถและโอกาสที่ผู้ประกอบการแต่ละคนมีไม่เท่ากันในการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทรัพยากรด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรง และ ทางอ้อม เพื่อนำทรัพยากรเหล่านั้นมา ประกอบการดำเนินธุรกิจ หรือการนำมาเพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของตน เช่น สินเชื่อกู้ยืม การได้รับเงินทุนจากเครือข่ายส่วนตัว หรือ การลงทุนจากภายนอก หรือ สถาบันทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใดก็ตาม ผู้ประกอบการในช่วงแรกเริ่มมักประสบปัญหาอุปสรรคที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากการขาดปัจจัยหลายด้าน จนอาจทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปหรือไม่ สามารถสร้างความเติบโตขยายธุรกิจได้อย่างที่ควรจะเป็นตามศักยภาพที่ตนมี เนื่องมาจากขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งสนับสนุน ทรัพยากรทางการเงิน อีกทั้งสิ่งที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องการในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น พื้นที่สำนักงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความรู้ด้านทักษะพิเศษ ซึ่งการจะเข้าถึงทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานปัจจัยทางการเงินทั้งสิ้น จากอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นและความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมตามข้อเสนอ โครงการนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อนำข้อมูลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าแหล่งสนับสนุนทรัพยากรทางการเงิน จากการศึกษามาพัฒนาองค์ความรู้เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทรัพยากรทางการเงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงแหล่งบริการสนับสนุนทางการเงินของผู้ประกอบการ (2) คุณลักษณะบริการสนับสนุนทรัพยากรทางการเงินของผู้ให้บริการทางการเงิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และ การวิจยัเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยกลุ่มตัวอย่างของการ วิจัยเชิงปริมาณได้แก่ ผู้ประกอบการภายในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 246 คน และ นำข้อมูลมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหาร และ ทีมงานผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงนักลงทุน ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการเงินen_US
dc.subjectบริการสนับสนุนทางการเงินen_US
dc.subjectผู้ประกอบการen_US
dc.subjectผู้ให้บริการทางการเงินen_US
dc.subjectสถาบันการเงินen_US
dc.subjectศูนย์บ่มเพาะธุรกิจen_US
dc.titleการศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ให้บริการทางการเงินธุรกิจ และนักลงทุนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFACTORS INFLUENCING ACCESS TO FINANCIAL SERVICES AMONG SMES AND SELECTION CRITERIA OF FINANCIAL SERVICE PROVIDERS AND INVESTORS IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.002 2564.pdf4.09 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.