Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorศิริสุข รักถิ่น-
dc.contributor.authorปาริฉัตร, โชติภูมิเวทย์-
dc.date.accessioned2021-05-21T07:54:00Z-
dc.date.available2021-05-21T07:54:00Z-
dc.date.issued2021-02-07-
dc.identifier.otherTP MS.021 2564-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3999-
dc.description136 แผ่นen_US
dc.description.abstractจากปัจจุบันการเชื่อมโยงข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ดังนั้นการทำงานจากนอกสถานที่จึงจำเป็นในสถานการณ์ที่โรคระบาดรุนแรงโควิด19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมและยังไม่มียารักษา พนักงานจึงมีความยากลำบากในการเดินทางมาทำงาน ดังนั้น หลายๆ องค์กรจึงได้นำกระบวนการการทำงานการต่างๆ มา ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อทำงานจากบ้าน และคุณภาพชีวิตเป็นที่สิ่งสำคัญและจำเป็นที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้น การบริหารจัดการ กระบวนการทำงานและคุณภาพชีวิตถือเป็นส่วนสำคัญและอิทธิพลต่อพนักงานในองค์กร การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีตัวแปรต้นคือปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรายได้ ปัจจัยกระบวนการทำงานซ่ึงประกอบด้วยการวางมาตรการและจัดทำแผนการทำงานจากบ้านทำงานทางไกล การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าถึงข้อมูลจากที่บ้าน โดยการเชื่อมต่อการเข้าถึง และการใช้ข้อมูลบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ปัจจยัคุณภาพชีวิต ซึ่งประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพียงพอ ความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน สภาพแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย และ ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการ ทำงาน โดยมีตัวแปรตามคือ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งประกอบดว้ยคุณภาพของงาน ปริมาณงาน เวลาที่ใช้ในงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และตัวแปรกำกับคือการรับรู้ภาวะวิกฤตโควิด-19 และความยากลำบากในการเดินทาง จากผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่ง มีประสิทธิภาพการทำงานใน ภาวะวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานกลุ่มธนาคารแตกต่างกัน 2) ปัจจัยการบริหารจัดการกระบวนการทำงานที่บ้าน (Work From Home) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางมาตรการและจัดทำแผนการทำงาน 3) คุณภาพชีวิตของพนักงาน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากตัวแปรต้นคือปัจจัยกระบวนการบริหารงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน พบว่าปัจจัยคุณภาพชีวิตทุกตัวส่งผลต่อตัว แปรตามคือประสิทธิภาพการทำงาน โดยปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงานจะส่งผลต่อทุกๆด้านของประสิทธิภาพการทำงานมากที่สุด เมื่อ พิจารณาตัวแปรกำกับคือปัจจัยการรับรู้ภาวะวิกฤตโควิด-19 และความยากลำบากในการเดินทาง พบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ภาวะวิกฤตโควิด-19 และความยากลำบากในการเดินทางส่งผลให้ตัวแปรต้นและตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์en_US
dc.subjectการทำงานจากบ้านen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectประสิทธิภาพการทำงานen_US
dc.subjectกระบวนการทำงานen_US
dc.titleการบริหารจัดการกระบวนการทำงานที่บ้าน (WFH) เพื่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต่อประสิทธิภาพการทำงานในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มธนาคารen_US
dc.title.alternativeWORKING-FROM HOME MANAGEMENT FOR THE QUALITY OF LIFE ON EMPLOYEES WHICH INDICATES THEIR WORK EFFECTIENCY DURING COVID-19 PANDEMIC IN BANKen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.021 2564.pdf2.14 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.