Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4001
Title: กรณีศึกษาบริษัทโลจิสติกส์ในไทยกับการปรับตัวในวิกฤตโควิด
Other Titles: CASE STUDY OF CHANGE MANAGEMENT DURING COVID-19 OF LOGISTICS COMPANY IN THAILAND.
Authors: อรจิรา, ธนรัช
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
การเปลี่ยนแปลงในสภาวะวิกฤต
กลยุทธ์ทางด้านธุรกิจ
กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ
บริษัทโลจิสติกส์
Issue Date: 21-May-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ พร้อมวิเคราะห์เหตุผลในการ เลือกใช้และผลลัพธ์ของการปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บริษัทโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทโลจิสติกส์ และมีความชำนาญการใน ด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างดี จากนั้นได้ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงกลยทุธ์เพื่อให้บริษัทโลจิสติกส์สามารถนำไปประยกต์ใช้เพื่อปรับปรุงหรือนำเสนอการให้บริการในภาวะวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตโควิด หรือวิกฤตการณ์อื่น ๆ ในภายภาคหน้า ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนั้น สามารถสรุปได้ว่าความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงโควิดเนื่องจากลูกค้า เปลี่ยนมาสั่งออนไลน์มากขึ้น ทำให้การจัดการโลจิสติกส์ขาเข้าทั้งหน้างานและหลังบ้านค่อนข้างมีปัญหา โดยบริษัทมีทางแก้ไขคือ การปรับตัวหน้างานด้วยการเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการรับสินค้า หากบริษัทมีการเตรียมตัวที่ดีก็สามารถจัดการกระบวนการให้เป็นไป อย่างต่อเนื่องได้โดยมีความติดขัดน้อยที่สุด การทำแผนแม่บทจะทำให้กระบวนการโลจิสติกส์เป็นระบบระเบียบ สามารถจัดสรร ทรัพยากรได้ดีขึ้น รวมถึงเรียบเรียงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือการเน้นความรวดเร็วในการตอบสนอง และการสร้างความเชื่อมั่นในสุขอนามัยมากกว่าการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมและมาตรฐานการให้บริการ เน้นไปที่การใช้ทรัพยากรของบริษัทให้มีประโยชน์ต่อลูกค้าโดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนเป็นสำคัญ ควรไปให้ความสำคัญกับการส่งสินค้า ณ ปลายทาง ที่ตัวแทนของบริษัทได้ พบปะกับลูกค้าที่จุดส่งสินค้า ดังนั้นกลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ การนำกลยุทธ์ด้านการตอบสนองลูกค้ามาปรับใช้ โดยเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในสุขอนามัยมากกว่าการเสนอความหลากหลายของสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยตามมาตรการ รักษาระยะห่างทางสังคมและมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเชื่อมั่นในแบรนด์จนสามารถเติบโตทางกำไรได้ในที่สุด
Description: 40 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4001
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.023 2564.pdf1.06 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.