Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorชนินทร์ อยู่เพชร-
dc.contributor.authorศุภกร, ปิ่นทอง-
dc.date.accessioned2021-05-25T04:50:18Z-
dc.date.available2021-05-25T04:50:18Z-
dc.date.issued2021-04-06-
dc.identifier.otherTP-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4019-
dc.description87 แผ่นen_US
dc.description.abstractปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวเชิงโยคะที่ได้รับความสนใจจากผู้ฝึกโยคะทั่วโลก คือ เมืองฤาษีเกศ ประเทศอินเดีย สำหรับ ประเทศไทยการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมหาศาล เป็นผลมาจากแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม และหลากหลาย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงโยคะในประเทศไทยให้เป็นตัวเลือกของผู้ฝึกโยคะ จึงสามารถทำควบคู่กับการท่องเที่ยวใน ปัจจุบันของประเทศไทยได ้โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงผลักและแรงดึง ที่ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงโยคะของนักท่องเที่ยวเชิงโยคะ โดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ อายุมากกว่า 20 ปี จำนวน 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มผู้ฝึกโยคะ กลุ่มผู้สอนโยคะ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงโยคะทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้น 33 คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยพบหลายปัจจัยที่มีความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงโยคะของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดย สามารถจัดกลุ่มปัจจัยเป็นแก่นสาระได้ทั้งหมด 6 เรื่อง ประกอบดว้ย 1. การพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับโยคะทุกด้านของผู้ฝึกโยคะให้พัฒนาสูงขึ้น ด้วยผู้สอนโยคะและรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการ 2 การสร้างสุขภาพแบบองค์รวม ครบทุกมิติ ทั้งด้านกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ 3. รูปแบบของจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูด 4. การให้ความรู้เกี่ยวกับโยคะกับผู้ฝึกโยคะ และคนในประเทศ 5. การเพิ่มความแรงดึงของการท่องเที่ยวเชิงโยคะ ด้วยการใช้กิจกรรมสร้างแรงดึงดูดอื่นเข้ามาช่วยสนับสนุน และ 6.ความร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงโยคะในประเทศไทย โดยแก่นสาระทั้ง 6 เรื่อง เป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงแรงผลักและแรงดึงในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงโยคะตาม ทฤษฎี นอกจากนั้นทางผู้วิจัยยังพบปัจจัยส่งเสริมอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงโยคะโดยตรง ไม่ได้มีความสำคัญ โดยเข้ามาสนับสนุนทั้งด้านของแรงผลักและแรงดึง นำไปสู่วางแผนเชิงกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับปัจจัยที่ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญ เพื่อพัฒนาให้การท่องเที่ยวเชิงโยคะในประเทศไทยมีความแข็งแรง และพร้อมจะเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างแน่นอนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพen_US
dc.subjectโยคะen_US
dc.subjectสุขภาพen_US
dc.titleการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงโยคะในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDESTINATION DEVELOPMENT OF YOGA TOURISM IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ศุภกร ปิ่นทอง 6250283.pdf5.24 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.