Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4032
Title: การศึกษาการมีทักษะที่แท้จริงของผู้จัดการกองทุนรวมเชิงรุกและเชิงรับ
Other Titles: LUCK VERSUS SKILL OF ACTIVE AND PASSIVE MUTUAL FUNDS : DO MANAGERS HAVE SKILL?
Authors: พงศธร, เพ็ญศิริ
Keywords: การเงิน
Luck
Mutual Fund
Bootstrapping
Abnormal Return
Issue Date: 17-Mar-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: ในการวัดความสามารถของผู้จัดการกองทุนรวมนิยมใช้ค่า Abnormal return (a) เป็นเครื่องมือชี้วัดกองทุนรวมใดทีมีค่า a เป็นบวกอาจจะได้รับการแปลความหมายว่ามีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนทีเหนือกว่าดัชนีอ้างอิงหรือตลาดได้ หรืออาจกล่าวได้ว่ามีทักษะในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามกองทุนรวมทีได้ค่า a ติดลบก็อาจจะได้รับการแปล ความหมายว่าไม่มีทักษะ อย่างไรก็ตามมีปัญหาประการหนึงทีสําคัญในการใช้ค่า a ในการอธิบายการมีทักษะของผู้จัดการ กองทุนรวม นั่นก็คือ a อาจเกิดจากการมีทักษะทีแท้จริง หรืออาจเกิดจากการมีโชคตลอดจนการได้โอกาสดีๆในการลงทุนใน บางครังบางคราว งานวิจัยชินนีค้นหาทักษะทีแท้จริงในการลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวมทังเชิงรุกและเชิงรับทีลงทุนเป็น หลักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand : SET) ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลารวม 10 ปี ด้วยวิธีการ Bootstrapping Simulation ผลการทดสอบด้วย Bootstrapping Simulation พบว่า หากพิจารณาผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย (Net return) มีกองทุนรวมเชิงรุก (Active Management Mutual Fund) บางกองสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากพอทีจะชดเชยค่าบริหารและค่าใช้จ่าย (Fee) แต่หากพิจารณาผลตอบแทนก่อนหักค่าใช้จ่าย (Gross return) จะพบว่ามีกองทุนรวมเชิงรุกในสัดส่วนทีมากขึนทีแสดงถึงการมีทักษะในการสร้างผลตอบแทนให้เหนือกว่า ตลาด ไม่พบการมีทักษะของกองทุนรวมเชิงรับ (Passive management mutual fund) ทั้ง Gross และ Net return การเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนรวมทั้งเชิงรุก เชิงรับ กับผลตอบแทนจากตลาด (SET100 TRI) พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วกองทุนรวมเชิงรุกไม่สามารถสร้าง Net return ได้มากกว่ากองทุนรวมเชิงรับและตลาด แต่พบว่ามีกองทุนรวมเชิงรุกบางกองที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าตลาด ผลการวิเคราะห์ค่า Tracking Error สรุปได้ว่ามีกองทุนรวมเชิงรุก ประมาณ 20 % ทีมีค่า Tracking Error ตําในระดับทีเทียบเท่ากองทุนรวมเชิงรับ และกองทุนรวมเชิงรุกและรับโดยเฉลียแล้วมี แนวโน้ม Tracking Error ทีต่ำลงเรือยๆ นับตังแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในงานวิจัย
Description: 68 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4032
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.009 2564.pdf2.91 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.