Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4174
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorณัฐวุฒิ พิมพา-
dc.contributor.authorนนทวรรณ, ประเสริฐศรี-
dc.date.accessioned2021-11-29T09:04:41Z-
dc.date.available2021-11-29T09:04:41Z-
dc.date.issued2021-10-22-
dc.identifier.otherTP FB.003 2564-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4174-
dc.description73 แผ่นen_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษา “ผลของการมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหารที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์สาขาการ ปฏิบัติการครัว ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาการปฏิบัติการครัวในกรุงเทพมหานคร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหาร ของอาจารย์ผู้สอนสาขาการปฏิบัติการครัว และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนสาขาการปฏิบัติการครัว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่ง ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ อาจารย์ที่สอนในสาขาการปฏิบัติการครัว ในสถาบันการศึกษา ที่เปิดสอนในสาขาการปฏิบัติการครัวในระดับปริญญาตรี ระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) และผู้ประกอบการด้านธุรกิจ อาหารที่เป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันที่เปิดสอนในสาขาการปฏิบัติการครัว จำนวน 10 คน จากผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหารของทั้งอาจารย์ประจำและผู้ประกอบการที่เป็นอาจารย์พิเศษ นั้นมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน คือเล็งเห็นว่ามีความสำคัญและมีประโยชน์ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาบุคคลากรขององค์กร ทั้งด้าน ความรู้ทางวิชาการและทักษะวิชาชีพ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทัศนคติที่เติบโต (Growth Mindset) ลักษณะประสบการณ์ที่พบจากผลงานวิจัยนั้น เป็นการมีส่วนร่วมในรูปแบบ Cooperative experience ประสบการณ์หลักของอาจารย์ประจำในสาขาการปฏิบัติการครัว คือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และตำแหน่งที่ปรึกษาธุรกิจร้านอาหารหรือธุรกิจโรงแรม ประสบการณ์หลักของอาจารย์พิเศษคือ ธุรกิจส่วนตัว และตำแหน่งเชฟในองค์กร โดยอาศัยเครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนตัวในการเข้าร่วมกับธุรกิจอาหาร อุปสรรคในสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหารคือ การบริหารจัดการเวลา และภาระงานหลัก รวมถึงนโยบายขององค์กรที่ไม่เอื้ออำนวย ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมและเพิ่มระดับของความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาและ อุตสาหกรรม ควรคำนึงถึงการสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างภาคี ตั้งแต่ขั้นตอนการวางนโยบายแล้วจึงวางแผนกิจกรรมให้มีระดับความร่วมมือมากขึ้น เช่น การเข้าอบรมระยะสั้น หรืออบรมเชิงปฏิบัติการกับสถานประกอบการในธุรกิจอาหาร สร้างเครือข่ายระหว่างธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะสามารถเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษา นักเรียนนักศึกษา และหน่วยงานธุรกิจอาหารในอุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนสาขาการปฏิบัติการครัวที่พบในงานวิจัย ควรนำประสบการณ์ที่ได้รับจากธุรกิจมาใช้เป็น บทเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจในห้องเรียนผ่านสื่อและเทคนิคการการสอนในรูปแบบต่างๆ และควรปรับรูปแบบให้เข้าใกล้รูปแบบของธุรกิจจริงมากขึ้น เช่น การฝึกงาน วิทยากรรับเชิญ การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมเครือข่าย ความร่วมมือทางธุรกิจในระดับต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างคลังความรู้ และเปลี่ยนต่อยอดความรู้ งานวิจัย และบุคลากรร่วมกันen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการธุรกิจอาหารen_US
dc.subjectธุรกิจอาหารen_US
dc.subjectการพัฒนาการเรียนการสอนen_US
dc.subjectสาขาการปฏิบัติการครัวen_US
dc.titleผลของการมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหารที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์สาขาการปฏิบัติการครัว ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาการปฏิบัติการครัวในกรุงเทพมหานครen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FB.003 2564.pdf951.33 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.