Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4188
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจคลาวด์คิทเช่นในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | STUDY THE FEASIBILITY OF THE DEVELOPMENT CLOUD KITCHEN BUSINESS PLAN IN PHITSANULOK PROVINCE. |
Authors: | กานติมา, ธรรมศิริ |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม Cloud Kitchen Food delivery |
Issue Date: | 1-Dec-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค การตลาด การเงิน การบริหารจัดการ และความสามารถในการแข่งขัน เพื่อพัฒนาธุรกิจ Cloud Kitchen ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นแผนธุรกิจ โดยรูปแบบของธุรกิจ เป็นพื้นที่ให้เช่าครัวทำอาหารในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรและ พื้นที่ใกล้เคียง สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการเปิดร้านอาหารใหม่ หรือต้องการ ขยายสาขาร้านอาหารมายงยังจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งประกอบการร้านอาหารสามารถใช้พื้นที่ครัว อุปกรณ์การทำอาหารและภาชนะบรรจุอาหารของบริษัทที่เตรียมไว้ให้ โดยมีการรับคำสั่งซื้ออาหาร ผ่านแอปพลิเคชันแบบเดลิเวอรี่ อาทิ Grab, Foodpanda, Lineman และทำการจัดส่งอาหารให้ลูกค้าที่บ้าน ที่ทำงาน หรือลูกค้าสามารถมารับอาหารเองที่ร้านได้ โดยพื้นที่ให้เช่าครัวในการทำอาหารแบบ ไม่มีหน้าร้านให้ลูกค้านั่งทานอาหาร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร เช่น ค่าเช่าที่ ค่าพนักงานเสิร์ฟ ค่าระบบการจัดการภายใน ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด และโปรโมตร้านอาหารในแพลตฟอร์มต่างๆ เป็นแหล่งรวมร้านอาหารหลากหลาย แบรนด์ที่ทำให้ลูกค้า สามารถสั่งอาหารรายการเดียวได้หลายร้าน แต่เสียค่าจัดส่งเพียงครั้งเดียว จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกร พบว่าจำนวนครั้งของการจัดส่งอาหารจะมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 78.0 - 84.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์โควิด 19 ทำให้คาดการณ์ได้ว่า พฤติกรรมการใช้บริการ Food Delivery ของ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร บุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักที่ใช้ในการศึกษาแผนธุรกิจ จะมีพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Online Food Delivery เพิ่มขึ้นจาก 28.47% เป็น 50.93% มีปริมาณคำสั่งซื้อที่ ประมาณ 500 คำสั่งซื้อต่อวัน Tasty Cloud Kitchen จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลาถึงเวลา 8.00 – 21.00 น. ขนาดของ พื้นที่ให้เช่ามี 2 ขนาด คือ พื้นที่ขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร และ 20 ตารางเมตร โดยมีรูปแบบการ เก็บค่าบริการจากผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมกับ Tasty Cloud Kitchen 2 รูปแบบคือ การเก็บ ค่าเช่าครัวในรูปแบบส่วนแบ่งการขายที่ร้อยละ 40 ของคำสั่งซื้อจากผู้ประกอบการร้านอาหารหรือ ผู้ประกอบการสามารถจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน (Landlord) และเพิ่มค่า Marketing อีกร้อยละ 35 ของ คำสั่งซื้อ กลุ่มเป้าหมายแรกคือผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องการขยายสาขาร้านอาหารไป พิษณุโลกทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยจะเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับการรีวิวจาก Website และ Facebook รวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับการรีววิจาก Influencer และกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ต้องการขาย Franchise ร้านอาหารหรือสูตรอาหาร รวมไปถึงผู้ที่สนใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ร้านอาหารหรือ ต้องการพัฒนาสูตรอาหาร อย่างผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาด้านการทำอาหาร ที่ยังไม่มีทุน ในการเปิดร้านอาหาร บริษัทฯ จะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,620,000 บาท เพื่อการปรับปรุงร้าน สร้างครัว และการจัดการระบบ บริษัทฯ จะเริ่มมีกำไรในปีที่สองโดยคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีจะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 12,260,332 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 107.5% และคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน |
Description: | 61 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4188 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.014 2564.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.