Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4190
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | สุเทพ นิ่มสาย | - |
dc.contributor.author | กรณิศ, แซ่จุ้ง | - |
dc.date.accessioned | 2021-12-07T04:00:58Z | - |
dc.date.available | 2021-12-07T04:00:58Z | - |
dc.date.issued | 2021-09-16 | - |
dc.identifier.other | TP BM.050 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4190 | - |
dc.description | 76 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย พบว่ามีเกษตรกรและผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพาราประมาณ 1 ล้าน ครอบครัว รวมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 6 ล้านคน และเนื่องจากยางพาราเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ และสามารถ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น สินค้าประเภท ยางล้อ ยางยืด กาว ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออก ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพาราเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นที่นอน และหมอนยางพารา เนื่องมีกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก มีเทคโนโลยีรองรับ และสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าคือ มีความยืดหยุ่น รองรับสรีระได้เป็นอย่างดี และมีเทคโนโลยีระบายอากาศทำให้หมอนไม่อับชื้น ดังนั้นการพัฒนาการแปรรูปยางพาราเป็น ผลิตภัณฑ์ที่นอนและหมอนยางพาราเป็นอีกตัวเลือกที่สำคัญ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งด้านการพัฒนาการเกษตร สนับสนุนเกษตรกร และสร้างอาชีพให้กับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา โดยในการศึกษาครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การส่งออกในประเทศเวียดนาม โดยประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีการเกษตรคล้ายคลึงกับประเทศไทย เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ คล้ายคลึงกับประเทศไทย และปัจจุบันประเทศเวียดนามได้มีการส่งออกสินคา้ทางการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ อีกด้วย จากการการสืบค้นข้อมูลและ รวบรวมข้อมูล (Secondary Data) และนำเสนอในรูปแบบของข้อมูลทางสถิติ และวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการสหกรณ์ยางพารา พบว่า สถานการณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราของไทยอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดี นับว่าเป็นโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม ซึ่งสามารถใช้จุดแข็งและโอกาสในการสร้างกลยุทธในการแข่งขัน และปรับแก้ไขในส่วนจุดอ่อน รวมไปถึงป้องกันอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได ้และจากการวิเคราะห์ศักยภาพในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราของประเทศไทยไปยังประเทศเวียดนาม โดยเปรียบเทียบกับ ประเทศคู่ค้าหลักของเวียดนาม อย่างประเทศจีน และ ประเทศมาเลเซีย พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราต่ำกว่าอีก 2 ประเทศที่ทำ การเปรียบเทียบ เป็นผลมาจากประเทศไทยยังไม่มีการสนับสนุนการผลิต การวิจัย และการส่งออกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังต้องมีการพึ่งพาท่าเรือการขนส่งของต่างประเทศอีกด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ยางพารา | en_US |
dc.subject | หมอนและที่นอนยางพารา | en_US |
dc.subject | ประเทศเวียดนาม | en_US |
dc.subject | โลจิสติกส์ | en_US |
dc.title | ศักยภาพทางการค้าและโอกาสทางการตลาด การส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราไทยในตลาดประเทศเวียดนาม | en_US |
dc.title.alternative | TRADE PERFORMANCE AND EXPORT MARKET OPPORTUNITIES OF THAI RUBBER MATTRESS AND PILLOW PRODUCTS IN IMPORTANT INTERNATIONAL MARKET | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.050 2564.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.