Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorกิตติชัย ราชมหา-
dc.contributor.authorพีรศุษม์ บุญแก้วสุข-
dc.date.accessioned2021-12-13T04:47:01Z-
dc.date.available2021-12-13T04:47:01Z-
dc.date.issued2564-10-26-
dc.identifier.otherTP MS.041 2564-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4205-
dc.description119 แผ่นen_US
dc.description.abstractการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร (Agriculture and Biotechnology) ของประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องที่ รัฐบาลเข้ามามีบทบาทและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก สำหรับการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเทคโนโลยี รวมถึงเครือข่ายนักวิจัย (Social Network Analysis) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร (2) เพื่อกำหนดแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการเกษตรเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 (3) เพื่อจัดทำ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันและขับเคลื่อนงานดำเนินงานตามแผน ที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร และ (4) เพื่อเสนอแนวทางในการติตตาม ความก้าวหน้าของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้มีการทบทวนและระบุสถานะของแผนที่นำทางในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการ อภิปรายกลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยใช้เครื่องมือการเก็บรวมรวมขอ้มูลการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview Form) เป็นเครื่องมือในการทำวิจัยการประมวลผลข้อมูลการวิจัยนี้ อาศัยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำาหรับข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บรวบรวมทั้งในมิติอุปสงค์ กล่าวคือ ข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร และด้านอุปทาน กล่าวคือ ข้อมูลภายใต้มิติด้านหน่วยงานที่มีบทบาท กำหนดนโยบาย หน่วยงานภาควิชาการและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์บรรณมิติโดยอาศัยโปรแกรม อาร์ (R Program) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิประเภทผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิผลต่อการนำมาพัฒนาแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสาขาอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของ ประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และภายใต้ขอบเขตการศึกษาวิจัยนี้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการและกลยุทธ์en_US
dc.subjectเกษตรกรรมen_US
dc.subjectเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.subjectภาคอุตสาหกรรมen_US
dc.subjectแผนที่นำทางen_US
dc.titleการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 ในอนาคต; มิติสถาบันการวิจัยและมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรของไทยen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.041 2564.pdf2.85 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.