Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4218
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorสุเทพ นิ่มสาย-
dc.contributor.authorพิชญา, รอดเจริญ-
dc.date.accessioned2021-12-14T03:45:10Z-
dc.date.available2021-12-14T03:45:10Z-
dc.date.issued2021-09-16-
dc.identifier.otherTP EM.017 2564-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4218-
dc.description101 แผ่นen_US
dc.description.abstractปัจจุบันภาวะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs เป็นสาเหตุหลักอันดับต้นๆการเสียชีวิตของ ประชากรไทยและทั่วโลกและจากข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยภาวะ NCDs ของประเทศไทยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรคทางเมตาบอลิกอย่าง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีจขำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เทรนด์การรักสุขภาพในสังคมเมืองก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ตลาดธุรกิจอาหารสุขภาพโดยภาพรวมมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งใน ประเทศไทยและทั่ว โลก จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยในปี 2558 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มีมูลค่ากว่า 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาย้อนหลัง 5 ปี จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 9.1 % นับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาดอาหารโดยรวมของประเทศซึ่ง เติบโตแค่ 3.5 % ต่อปี และเมื่อดูเฉพาะส่วนของอาหารสำเร็จรูปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ในปี 2563 ตลาดมีมูลค่าถึง 20,200-20,500 ล้านบาท และเติบโต 3.5-5.5% ต่อปี ดังนั้นจึงเห็นโอกาส สําหรับพัฒนาแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพสําหรับผู้มีความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิกขึ้น เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวช่วยให้ผู้บูริโภคปรับการรับประทานอาหารได้ดีขึ้น สะดวกขึ้น ตามคำแนะนำของแพทย์ กลุ้มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 25,000 บาทต่อเดือน มีภาวะเสี่ยง โรคไขมันในเลือดสูงหรือนํ้าตาลในเลือดสูงหรือความดันโลหิตสูง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นไป มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารสุขภาพเป็นประจำ กล่าวคือมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์และกลุ่มที่มี พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพบ่อยครั้งคือประมาณ 1- 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ด้านการเงินและความคุ้มค่าในการลงทุนนัั้น แผนธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท โดยนำไปใช้ในการปรับปรุงสถานที่ผลิต ส่วนสำนักงาน อุปกรณ์ภายในสำนักงานพัฒนาสูตรอาหาร และเป็นเงินทุนสําหรับหมุนเวียนในการดำเนินงาน โดยโครงการนี้มีผลตอบแทนในการ ลงทุนจากการประมาณการในระยะเวลา 5 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 23,428,457.87 บาท มีต้นทุนถัวเฉลี่ย 12.72% มีอัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโครงการนี้ (IRR) เท่ากับ 153.9% และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1 ปี 3 เดือน คณะผู้บริหารประกอบด้วยกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและผู้จัดการฝ่ายผลิตen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรมen_US
dc.subjectแผนธุรกิจen_US
dc.subjectอาหารเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectโรคเมตาบอลิกen_US
dc.titleการพัฒนาแผนธุรกิจของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพสำหรับผู้มีความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิกen_US
dc.title.alternativeBusiness Plan Development of Ready-to-Eat Products for People at Risk of Metabolic Syndromeen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.017 2564.pdf2.14 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.