Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4237
Title: การศึกษาการจัดการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่
Other Titles: THE STUDY OF THE INSTRUCTIONAL MANAGEMENT TO ENHANCE 21ST CENTURY SKILLS IN THE NEW NORMAL ERA
Authors: ปิยะดา, เนียมสุวรรณ
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนออนไลน์
Issue Date: 22-Oct-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: เนื่องจากความสำคัญของทักษะใหม่ที่จะต้องเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจในแง่ของการจัดการโดยผ่านมุมมองทั้งของ ผู้เรียนและผู้สอน ทั้งนี้เมื่อเกิดผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดการนั้นมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ 2) พัฒนากลยุทธ์และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อ เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอาจารย์จำนวน 5 คนและนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่าทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ถูกพัฒนามากที่สุด คือ ทักษะความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) และทักษะความคิดริเริ่มและการกำกับชี้นำตนเอง (Initiative and Self-Direction) เพราะนักศึกษาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเรียนการสอนแบบวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และเนื่องจากสถานการณ์นี้ทำให้ต้องฝึกฝนการกำกับชี้นำตนเองเพื่อให้มีความสนใจในการเรียนอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้ขาดแรง กระตุ้นทางการเรียน ส่วนทักษะที่ถูกพัฒนาน้อยหรือแทบไม่ได้รับการพัฒนาเลยเพราะข้อจำกัดทางการเรียนแบบวิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation), ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving), ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communication), ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration), ทักษะทางสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills), ทักษะการสร้างประสิทธิผลและ ความรับผิดชอบ (Productivity and Accountability), ทักษะความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility) เนื่องจากข้อจำกัดในการสอนออนไลน์ อาจารย์ ผู้สอนจึงมักจะบรรยายการสอนเป็นหลักประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถทำแล็บได้และพบเจอเพื่อนนักศึกษาคนอื่นได้ ทักษะหลาย อย่างข้างต้นจึงแทบไม่เกิดการพัฒนา การเรียนในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ยังทำให้นักศึกษาขาดแรงจูงใจในการเรียน ส่งผลต่อทักษะการสร้างประสิทธิผลและความรับผิดชอบ (Productivity and Accountability) ที่ลดน้อยลง ส่วนกลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) พบว่าจากสถานการณ์ทำให้ใน ชีวิตประจำวันนักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และการนำมาใช้ได้ และได้ใช้ทักษะด้านสื่อในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น อย่างไรก็ตามพบว่า มีการใช้สื่อเพื่อทุจริตในการสอบออนไลน์ ทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีให้ถูกกฎหมาย และถูกหลักจริยธรรมนั้นจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ส่วนในด้านกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) มีความต้องการให้มีการกำหนดนโยบายและจัดสรรเครื่องมือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้แก่อาจารย์และนักศึกษา ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสอบที่โปร่งใส, การกำหนดนโยบายจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โปรแกรมการสอนออนไลน์, โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านวิศวกรรม, สถานที่สำหรับการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาแบบเว้นระยะห่างทางสังคม 2) การวัดผลควรเปลี่ยนรูปแบบจาก การสอบเป็นรูปแบบอื่นร่วมด้วย 3) วิธีการเรียนควรเป็นแบบผสมผสาน 4) พัฒนาบุคลากรอาจารย์ 5) ผู้เรียนควรมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
Description: 83 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4237
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.048 2564.pdf1.64 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.