Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4292
Title: การศึกษาการลงทุนโดยใช้แบบจำลองกำหนดราคาหลักทรัพย์ 6 ปัจจัย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวิธีถ่วงน้ำหนัก (Market Cap Weighted)
Other Titles: SIX FACTOR MODEL IN STOCK EXCHANGE OF THAILAND (MARKET CAP WEIGHTED)
Authors: วิทวัส, ยงย่วน
Keywords: การเงิน
โมเมนตัม
แบบจำลองกำหนดราคาหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Issue Date: 9-Sep-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ทดสอบปัจจัยในการเลือกหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ปัจจัย 6 ปัจจัยในการเลือกหลักทรัพย์จากแบบจำลองกำหนดราคาหลักทรัพย์ 6 ปัจจัย ของ Fama and French (2014) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของตลาด (Market Risk Premium Factor) ,ปัจจัยด้านขนาด (Size Factor), ปัจจัยด้านมูลค่าของบริษัท (Value Factor), ปัจจัยความสามารถด้านการทำกำไร (Profitability Factor), ปัจจัยด้านการลงทุน (Investment Factor) และ ปัจจัยด้านโมเมนตัม (Momentum Factor) ซึ่ง การแบ่งปัจจัยด้านต่าง ๆ ข้างต้นใช้วิธีการแบ่งแบบ 2x3 โดยการศึกษาใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ อนุกรมเวลา (Time Series) และทดสอบวิธีทางสถิติด้วยวิธีสมการถดถอยเชิงเส้นตรง (Ordinary Least Square Estimation, OLS) ซึ่งในการศึกษานี้ใช้ข้อมูลกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยูในดัชนี SET100 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2548-2564 ผลการศึกษาพบว่าการจัดกลุ่มหลักทรัพย์แบบถ่วงน้ำหนัก (Market cap Weighted) ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยส่วนเกินของตลาด (Market Risk Premium: MRP) เท่ากับ 0.67 % ต่อเดือน, ปัจจัยด้านขนาด (Size Factor : SMB) เท่ากับ 0.41% ต่อเดือน, ปัจจัยด้านมูลค่าของบริษัท (Value Factor: HML) เท่ากับ 0.09% ต่อเดือน, ปัจจัยความสามารถด้านการทำกำไร (Profitability Factor : CMA) เท่ากับ -0.33% ต่อเดือน,ปัจจัยด้านการลงทุน (Investment Factor : RMW) เท่ากับ 0.25% ต่อเดือนและปัจจัยด้านโมเมนตัม (Momentum Factor :WML) เท่ากับ 0.05% ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 6 ปัจจัย ตามที่กล่าวข้างต้นไม่สามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของกลุ่ม หลักทรัพย์ได้อย่างครบถ้วนจากผลจากการทดสอบตามแบบจำลองของ Gibbons-Ross-Shanken Statistic (GRS) Test พบว่า ค่าสถิติที่ได้ปฎิเสธสมมติฐานที่ว่าค่าคงที่ (α) ของแบบจำลองมีค่าเท่ากับศูนย์มีนัยสำคัญที่ระดับ 5%
Description: 50 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4292
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.020 2564.pdf125.55 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.