Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4301
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | วินัย วงศ์สุรวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | นฤภร, ปู่แตงอ่อน | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-24T06:26:42Z | - |
dc.date.available | 2022-01-24T06:26:42Z | - |
dc.date.issued | 2021-09-09 | - |
dc.identifier.other | TP MM.065 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4301 | - |
dc.description | 70 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานี0วงการนิยายมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล จากรูปเล่มหนา ๆ กลายมาเป็น เพียงเว็บไซต์หรือแอพพลิชั่นที่อ่านผ่านหน้าจอเครื่องมือสื่อสารที่พกพาได้ จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ผู้วิจัย จึงมีความสนใจที่อยากจะศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมการเขียนนิยายของนักเขียนนิยายออนไลน์ และการอ่าน นิยายของนักอ่านนิยายออนไลน์ในอดีตกับปัจจุบัน รวมถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ามามี บทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงวงการนิยายอย่างไรบ้าง การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยข้อคําถามแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในด้านของพฤติกรรมและทัศนคติมาวิเคราะห์ ข้อมูล โดยทําการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจํานวน 30 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเขียนนิยายออนไลน์ มี ประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ปี จํานวน 12 คน และ กลุ่มนักอ่านนิยายออนไลน์ จํานวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มนักเขียนรู้สึกว่าการเขียนนิยายออนไลน์เป็นเหมือนดาบสองคมต่อการ เผยแพร่ผลงานของพวกเขา เพราะถึงแม้ว่าจะสามารถช่วยให้ผลงานของพวกเขาเป็นที่รู้จักได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น แต่ความรวดเร็วของการสื่อสารบนโลกออนไลน์นี้ทําให้มีความผิดพลาดในการตีความข่าวสารจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ทําให้เกิดการโต้ตอบความเห็นที่ขัดแย้งกันจากประเด็นในเนื้อหา ทำให้นักเขียนต้องระมัดระวังต่อการเขียนและ สร้างสรรคผ์ลงาน ที่ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 2) กลุ่มนักอ่านส่วนมากได้มีการ เลียนแบบตามตัวละครในนิยายเรื่องที่ตนอ่าน อย่างเรื่องการคิด การใช้ชีวิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อของกินและ ของใช้ ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่านนิยายและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับนิยายเรื่องนั้นผ่านการถ่ายทอดของนักเขียนด้วย ความตั้งใจที่จะใส่รายละเอียดการดําเนินชีวิตให้มีความสมจริง หรือโฆษณาจากแบรนด์ที่ให้ตัวละครเป็นผู้ใช้สินค้า นั้น ๆ ก็ตาม ที่ทําให้นักอ่านรับรู้ถึงสินค้าหรือแบรนด์ที่ตัวละครใช้ได้อย่างชัดเจน จนทำให้เกิดการเลียนแบบขึ้น | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การตลาด | en_US |
dc.subject | นิยายออนไลน์ | en_US |
dc.subject | สื่อสังคมออนไลน์ | en_US |
dc.subject | การเลียนแบบ | en_US |
dc.title | นิยายออนไลน์ ช่องทางเลือกของนักอ่าน หรือทางรอดของนักเขียน | en_US |
dc.title.alternative | ONLINE NOVEL; READER’S OPTION OR WRITER’S SURVIVAL | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.065 2564.pdf | 924.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.