Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/431
Title: การศึกษารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบอารมณ์ขันในสื่อออฟไลน์ (Offline)
Authors: นลิน วชิรภูษิตานันท์
Keywords: Marketing and Management
การสื่อสารการตลาด
สื่อออฟไลน์
Offline
Issue Date: 15-May-2014
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2556
Abstract: สารนิพนธ์เรื่องการศึกษารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบอารมณ์ขันในสื่อออฟไลน์ (Offline) มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกประเภทและสำรวจประเภทของการสื่อสารการตลาดแบบอารมณ์ขันที่ได้รับความนิยมในสื่อออฟไลน์มากที่สุด ซึ่งสารนิพนธ์นี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในการวิเคราะห์ สังเคราะห์โดยอิงตามกรอบทฤษฎีกระบวนการสื่อสารการตลาด และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ รูปแบบการสื่อการการตลาดแบบอารมณ์ขันในสื่อออฟไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 26 ตัวอย่าง และจากการศึกษา สามารถจำแนกประเภทการสื่อสารแบบอารมณ์ขันในสื่อออฟไลน์ได้ 13 รูปแบบ ได้แก่ ตลกบุคลิกตัวละคร ตลกขัดแย้งตรงข้าม ตลกกล่าวเกินจริง ตลกผิดเพี้ยน ตลกหักมุม ตลกเล่นคำ ตลกสร้างสรรค์ ตลกเสียดสี ตลกผิดแปลกจากเดิม ตลกล้อเลียน ตลกเปรียบเทียบ ตลกไหวพริบปฎิภาณ และตลกสองแง่สามง่าม ซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้ในการสื่อสารการตลาดมากที่สุด คือ ตลกบุคลิกตัวละคร และตลกขัดแย้งตรงกันข้าม เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน สามารถตีความหมายจากเรื่องราวได้ง่าย ส่วนรูปแบบที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด คือ ตลกผิดแปลกจากเดิม ตลกล้อเลียน ตลกเปรียบเทียบ ตลกไหวพริบปฏิภาณ และตลกสองแง่สามง่าม เนื่องจากเนื้อหามีความซับซ้อนและตีความได้ยาก ถ้าไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมมาก่อนก็อาจจะยากที่จะเข้าใจ และสารนิพนธ์ฉบับนี้ ผู้ที่สนใจก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างสรรค์ผลงานหรือนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจได้ ซึ่งการนำอารมณ์ขันมาใช้นั้น จะช่วยสร้างจุดสนใจ จุดเด่นหรือความแตกต่างให้กับธุรกิจ และทำให้ผู้รับสาส์นสามารถจดจำผลงานหรือธุรกิจนั้นๆได้ง่ายขึ้นอีกด้วย คำสำคัญ : การสื่อสารการตลาด / อารมณ์ขัน / สื่อออฟไลน์ (Offline)
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/431
Other Identifiers: TP MM.007 2556
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.007 2556.pdf1.75 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.