Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4345
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ธนพล วีราสา | - |
dc.contributor.author | พีรญา, ศรเพ็ชร | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-21T04:55:43Z | - |
dc.date.available | 2022-03-21T04:55:43Z | - |
dc.date.issued | 2022-02-25 | - |
dc.identifier.other | TP BM.003 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4345 | - |
dc.description | 73 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหาร และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาซื้ออาหารซ้ำในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภค Gen-X และ Gen-Y ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มระหว่างตัวแปร 2 ตัว (Independent-Samples T-Test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 22 – 44 ปี เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520–2542 ซึ่งถือเป็นกลุ่ม Gen-Y โดยส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหาร ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในด้านการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารจากร้านที่มีราคาบอกไว้ชัดเจน ด้านระดับราคาของอาหาร ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ด้านวิธีการชำระเงิน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกรับประทานอาหารจากร้านค้าที่สามารถจ่ายผ่านระบบ Mobile Banking ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในด้านต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความตระหนักด้านสุขภาพมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณภาพอาหาร ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการรับรู้คุณค่า ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารซ้ำ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดของร้านอาหารที่ให้บริการ และมาตรการการป้องกันโรคติดต่อของร้านอาหารมากที่สุด ความตั้งใจซื้ออาหารซ้ำในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อบริโภคอาหารในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านคุณภาพอาหาร การรับรู้คุณค่า ความตระหนักด้านสุขภาพ การส่งเสริมการตลาด และกลยุทธ์ราคา มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความตั้งใจซื้ออาหารซ้ำ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภค Gen-X และ Gen-Y ผลการทดสอบสมมติฐานจากการถดถอยพหุคูณ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารซ้ำในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของทั้งในกลุ่มผู้บริโภค Gen-X และ Gen-Y คือ ปัจจัยด้านความตระหนักด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ความตั้งใจซื้อซ้ำ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้จ่าย | en_US |
dc.subject | โควิด-19 | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารและความตั้งใจซื้ออาหารซ้ำของผู้บริโภค Gen-X และ Gen-Y ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 | en_US |
dc.title.alternative | Food purchasing behavior and repurchase intention of Generation X and Generation Y during the COVID-19 pandemic situation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.003 2565.pdf | 80.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.