Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/440
Title: | พฤติกรรมการรับสื่อต่างๆ ของกลุ่ม DINKs (Double Income No Kids) |
Authors: | กิตติมา ฉายาประจักษ์กุล |
Keywords: | Marketing and Management พฤติกรรม DINKs สื่อ |
Issue Date: | 15-May-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2556 |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาพฤติกรรมการรับสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร ป้ายโฆษณากลางแจ้ง และอินเตอร์เน็ตของกลุ่ม DINKs ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการรับสื่อประเภทต่างๆ ของ DINKsว่าสื่อใดที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้มากที่สุด และสื่อใดที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของคนกลุ่ม DINKs มากที่สุด โดยข้อมูลที่ใช้ในงานสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการรวบรวมจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือนาข้อมูลปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยแหล่งของข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับสื่อต่างๆ ของผู้บริโภคกลุ่ม DINKs (Double Income No Kids) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ซึ่งผลการวิจัย พบว่า กลุ่ม DINKs (Double Income No Kids) ส่วนใหญ่เป็นวัยทางาน อาศัยอยู่ในเมือง นิยมที่จะใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย เห็นความสาคัญของตนเองและคู่ครองสูง ที่คนกลุ่มนี้เป็น DINKs ส่วนหนึ่งมาจากความทุ่มเทและมีความสุขกับการทางาน รักอิสระ รวมถึงกังวลกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่โหดร้ายในปัจจุบัน จึงทาให้ไม่มีลูก และจากการที่คนกลุ่มนี้ไม่ต้องกังวลหรือเก็บเงินไว้ใช้จ่ายสาหรับดูแลลูกทาให้พวกเขามีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างเต็มที่ สื่อที่คนกลุ่มนี้รับมากที่สุดคือ โทรทัศน์ เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารเป็นหลักและละคร แต่สื่อใหม่ เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet) ก็เป็นอีกสื่อหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้มากเช่นเดียวกัน เพื่อใช้สาหรับการทางาน การหาข้อมูล การสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook) ส่วนสื่ออื่นๆ เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มการบริโภคสื่อเหล่านี้น้อยลงแต่กลับมีพฤติกรรมการรับสื่อเหล่านี้ผ่านออนไลน์ทดแทน ส่วนสื่อที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของคนกลุ่มนี้มากที่สุดพบว่า เป็นสื่ออินเตอร์เน็ต เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา และสื่อออนไลน์สามารถใช้เป็นตัวช่วยในการโฆษณาโดยการบอกต่อ (Word-Of-Mouth) ให้เป็นที่สนใจและกระจายออกไปอย่างรวดเร็วได้ อย่างไรก็ตามสื่อเดิม เช่น โทรทัศน์ ยังคงมีบทบาทสาคัญที่ทาให้เกิดการรับรู้ข้อมูลเบื้องต้นเช่นกัน คาสาคัญ : การรับสื่อ/สื่อ/พฤติกรรม/DINKs |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/440 |
Other Identifiers: | TP MM.015 2556 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.015 2556.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.