Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4670
Title: | การศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดดิจิตอลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อโครงการจัดสรร ของกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A STUDY OF MARKETING DIGITAL COMMUNICATION FACTORS AFFECTING BEHAVIOR DECISION TO PURCHASE A HOUSING PROJECT OF GENERATION Y CUTOMERS IN BANGKOK |
Authors: | ปิยะบุตร, โกศลกิตติพงศ์ |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ การสื่อสารการตลาดดิจตอล |
Issue Date: | 19-Sep-2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวายที่ อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มคนที่สนใจซื้อโครงการจัดสรรและติดตามสื่อออนไลน์ โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างสำหรับ งานวิจัยในครั้งนี้จำนวน 398 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากผู้ที่ ติดตามเพจสนใจซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ติดตามมากกว่า 80,000 คน ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่กระจายข่าวสารเกี่ยวข้องกับการโครงการจัดสรรที่กำลังขายหรือกำลังจะเปิดตัวใหม่ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออภิปรายข้อมูลทัวไปรวมถึงข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามงานวิจัยและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) เพื่อตรวจสอบตัวแปรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ นอกจากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยวิธี Enter Mode ในการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการตลาดดิจิตอลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโครงการจัดสรรของกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานครและผู้วิจัยได้มีการตรวจสอบเงื่อนไขการวิเคราะห์การ ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยเช่นกัน ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิงและอายุระหว่าง 31-40 ปีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและในส่วนของผลการวิจัยทางสถิติพบว่ามี 4 การสื่อสารทางการตลาดดิจิตอลที่มีผลต่อ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อโครงการจัดสรร ของกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร 1 การตลาดผ่านระบบค้นหาข้อมูล (Search Engine Marketing: SEM), 2 การตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing), 3 การตลาดโดยใช้เว็บไซต์ (Web Marketing), 4 การตลาดโดยการสร้างเนื้อหาและแบ่งปันข้อมูล (Content Marketing) ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนั้นได้มาหลังจากผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ขอ้ มูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) โดยการหมุนแกนมุมแหลม (Oblique Rotation) โดยวิธี Varimax |
Description: | 111 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4670 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.047 2565.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.