Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4671
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มที่สั่งซื้อ ผ่านแอพเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A STUDY OF FACTOR INFLUENCING SOCIAL MEDIA IN FOOD AND BEVERAGE BUSINESS BY APP DELIVERY IN BANGKOK
Authors: พงศ์ณภัทร, นทีธร
Keywords: การจัดการธุรกิจ
สื่อสังคมออนไลน์
ธุรกิจอาหาร
Issue Date: 19-Sep-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สนใจ และ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครสำหรับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มผ่านแอพเดลิเวอรี่ โดยจำนวนกลุ่ม ตัวอย่างสำหรับงานวิจัยในครั้งนี้จำนวน 420 คนซึ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ต่างๆสำหรับด้านอาหารและ เครื่องดื่มผ่านแอพเดลิเวอรี่ การเก็บข้อมูลแบบสอบถามใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionaire) สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistic) เพื่ออภิปรายรายข้อมูลทั่วไปรวมถึงข้อมูลด้าน ประชากรศาสตร์ของผูต้ อบแบบสอบถามงานวิจัยและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis :EFA) เพื่อตรวจสอบตัวแปรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ นอกจากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis :MFA) ด้วยวิธีการ Enter Modeในการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มผ่านแอพเดลิเวอรี่ในเขตกรุงเทพมหานครของกลุ่มตัวอย่าง และผู้วิจัยได้มีการตรวจสอบเงื่อนไขการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยเช่นกันในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และระดับรายได 20,001-40,000 บาท และในส่วนของผลการวิจัยทางสถิติพบว่า มี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มผ่านแอพเดลิเวอรี่ในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่ การรับรู้ว่ามีประโยชน์(Perceived usefulness), การรับรู้ว่าใช้งานง่าย(Perceived ease of use) และการรับรู้ว่าเชื่อถือได้(Perceived Trust) ซึ่งปัจจัยทั้งมดนั้น ได้มาหลังจากผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) โดยการหมุนแกนโดยวิธี Varimax
Description: 100 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4671
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.048 2565.pdf2.36 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.