Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4697
Title: การศึกษาประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนของเครื่องมือทางเทคนิค Bollinger Bands เปรียบเทียบกับการซื้อแล้วถือ (Buy and Hold)
Other Titles: THE STUDY OF TECHNICAL ANALYSIS: BOLLINGER BANDS COMPARE WITH BUY AND HOLD STRATEGY
Authors: รุจีพัชร, มัฎฐาพันธ์
Keywords: การจัดการธุรกิจ
Bollinger Bands
SET50
Buy and Hold
Backtesting
Issue Date: 19-Jun-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนโดยใช้เครื่องมือทางเทคนิค Bollinger Bands เปรียบเทียบกับกลยุทธ์การซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) ด้วยวิธี Backtesting และทำการทดสอบทางสถิติจากการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้เครื่องมือทางเทคนิค รวมถึงการทดสอบหาจุดคุ้มทุน (Breakeven) โดยการเปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ การทดสอบทำด้วยวิธี Backtesting บนข้อมูลราคาปิดรายวันของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มของ SET50 ณ สิ้นปี 2021 และมีข้อมูลการจดทะเบียนไม่ต่ำกว่ากว่า 15 ปี ซึ่งมีทั้งสิ้น 27 หลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2007 ถึง 30 ธันวาคม 2021 ผลการศึกษาพบว่า การแบ่งหลักทรัพย์ให้อยู่ในกลุ่มมูลค่าทางการตลาดใหญ่ที่สุด (XXL), กลุ่มมูลค่าทางการตลาดใหญ่มาก (XL) และกลุ่มมูลค่าทางการตลาดใหญ่ (L) เห็นได้ว่าเครื่องมือทางเทคนิค Bollinger Bands ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีขึ้นตามกลุ่มมูลค่าทางการตลาดของหลักทรัพย์ที่สูงขึ้น ด้วยจุดเด่นของเครื่องมือชนิดนี้ ที่ไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของราคาหลักทรัพย์ การทดสอบทางสถิติพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค Bollinger Bands สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยรายวันได้แต่น้อยกว่าการซื้อแล้วถือ ที่ระดับนัยยะสำคัญ 5% ได้ ในส่วนของการทดสอบจุดคุ้มทุนพบว่า มีความสามารถในการทำกำไรหลังหักค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ใกล้เคียงกัน โดยที่ Bollinger Bands มีจำนวน หลักทรัพย์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนหลักหักค่าธรรมเนียมซื้อขาย อยู่ที่ 20-21 ตัว จากทั้งหมด 27 ตัว
Description: 29 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4697
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.015 2565.pdf1.2 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.