Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/470
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่รถยนต์แบรนด์ มายด์แบตเตอรี่ (Mind battery) |
Authors: | ไมกาลักษณ์ เรืองวัฒนาโชค |
Keywords: | Entrepreneurship and Innovation ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม การเงิน รถยนต์ ความเป็นไปได้ แบตเตอรี่ |
Issue Date: | 20-May-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2557 |
Abstract: | บริษัท มายด์ แบตเตอรี่ (2013) จำกัด ก่อตั้งโดยนางสาวสุภาภรณ์ แตรรุ่งโรจน์ ร่วมกับคณะกรรมการอีก 3 ท่านเพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่จากประเทศจีน โดยมีตราสินค้า มายด์ แบตเตอรี่ มีสำนักงานและศูนย์กระจายสินค้าหลักอยู่ที่พุทธมณฑลสายสอง โดยลูกค้าหลักของกิจการจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือขายส่งและขายปลีก การขายส่งจะขายทั่วประเทศ มีลูกค้าขายส่งจำนวนทั้งสิ้น 200 รายทั่วประเทศซึ่งคาดว่าจะได้ส่วนแบ่งจากตลาดในปีแรก 2% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด และส่วนการขายปลีกโดยการกระจายไปตามศูนย์บริการมายด์ชอป 6 สาขาทั่วกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะได้ส่วนแบ่งตลาดจากการขายปลีกทั่วกรุงเทพอยู่ที่ 2% ของมูลค่าการขายปลีกในกรุงเทพมหานคร คู่แข่งที่สำคัญของกิจการคือ PUMA , Hitachi และแบตเตอรี่นำเข้ายี่ห้ออื่น จากการสำรวจข้อมูลพบว่ากำลังการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ในประเทศไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีกำลังการผลิตเพียง 66% ของความต้องการใช้แบตเตอรี่เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าแบตเตอรี่จากประเทศอื่นๆถึง 34% และมีแนวโน้มในการนำเข้าที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงมองเห็นโอกาสในการนำเข้าแบตเตอรี่รถยนต์มาจำหน่ายในประเทศไทยเพื่อเติมเต็มตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ให้เพียงพอต่อความต้องการ บริษัทมีจุดแข็งจากการอยู่ในวงการแบตเตอรี่มายาวนานถึง 45 ปี ทำให้เราได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้า รวมไปถึงการมีช่องทางในการจัดจำหน่ายทั่วประเทศถึงกว่า 200 ร้านค้า อีกทั้งยังมีกลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนธุรกิจ ได้แก่ ในด้านการบริหารจัดการจะมีการจัดการบริหารโดยใช้ระบบ Just in time กับศูนย์บริการทั้งหมด เพื่อเป็นการลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าคงคลังรวมไปถึงการลดการใช้ทรัพยากรบุคคล ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบ อีกทั้งมีระบบ logistic ที่ดีช่วยให้การส่งของไปยังศูนย์บริการเพื่อความรวดเร็วและลดต้นทุนที่เกิดจากการขนส่งในด้านการนำเข้าเราจะนำเข้าสินค้าทุกเดือน เพื่อลดการซับซ้อนการจัดการและลดความเสี่ยงในการถือครองสินค้า ในด้านการตลาดจะมีการตั้งเป้าของยอดขายเพื่อให้ลูกค้าเกิดแรงจูงใจในการผลักดันสินค้าให้กับ Mind Battery และ ในด้านการเงินจะทำส่วนลดการซื้อเงินสดให้กับลูกค้าเพิ่มเติม เพื่อเป็นการให้กระแสเงินสดหมุนเวียนได้สะดวกมากขึ้นการจัดตั้งกิจการใหม่โครงการนี้ต้องใช้การลงทุนประมาณ 10,634,600 ล้านบาทเป็นเงินลงทุน จากส่วนของเจ้าของ 7,634,600 บาทและเป็นเงินกู้ยืม 3 ล้านบาท ผลตอบแทนของการลงทุนครั้งนี้คาดว่าจะมีระยะเวลาคืนทุน 8.37 เดือน มีจุดคุ้มทุนที่ระดับ 11,116,968 บาท ต่อเดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุนเท่ากับ 332,046,442 บาท และอัตราผลตอบแทนของการลงทุนเท่ากับ 281.33 % |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/470 |
Other Identifiers: | TP EM.030 2557 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.030 2557.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.