Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4757
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำและการบอกต่อในพื้นที่เขื่อนและโรงไฟฟ้า
Other Titles: FACTORS INFLUENCING INTENTION TO USE LOW-CARBON TRAVEL SERVICES AND WORD-OF-MOUTH IN DAM AND POWERPLANT AREAS
Authors: ปรียาภรณ์ ศรีสันติสุข
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ
การบอกต่อ
ความตั้งใจใช้บริการ
Issue Date: 24-Sep-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำและการบอกต่อในพื้นที่เขื่อนและโรงไฟฟ้า โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ คนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทั้งผู้ที่เคยใช้บริการและผู้ที่ไม่เคยใช้บริการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่เขื่อนและโรงไฟฟ้า จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบสะดวก จำนวนทั้งสิ้น 417 คน ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันไม่ได้มีความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำและการบอกต่อแตกต่างกัน และการศึกษาอิทธิพลต่อปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ ข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นและสังคม การรับรู้เรื่องคาร์บอนต่ำ แรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเขื่อนด้านทรัพยากรกิจกรรมท่องเที่ยวและด้านที่พักและการให้บริการด้านอาหาร มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ และส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบอกต่อ ได้แก่ ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นและสังคม การรับรู้เรื่องคาร์บอนต่ำ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเขื่อนด้านทรัพยากรกิจกรรมท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบว่า 1) ปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรงของสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่าง 1.1) ข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นและสังคม และ 1.2) การรับรู้เรื่องคาร์บอนต่ำ กับ ความตั้งใจใช้บริการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ 2) ปัจจัยด้านการรับรู้สภาพเศรษฐกิจเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่าง 2.1) การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง และ 2.2) การรับรู้เรื่องคาร์บอนต่ำ กับความตั้งใจใช้บริการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ 3) ปัจจัยด้านการรับรู้สภาพเศรษฐกิจเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเขื่อนด้านที่พักและการให้บริการด้านอาหาร กับ การบอกต่อ
Description: 73 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4757
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.018 2565.pdf194.48 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.