Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4959
Title: การศึกษากลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาทันตกรรมในประเทศไทยเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงทันตกรรม
Other Titles: THE STUDY OF MECHANISM FOR DRIVING THE NATIONAL STRATEGY AND THE DEVELOPMENT GUIDELINES OF DENTAL TOURISM TO INCREASE COMPETITIVE ADVANCTAGE
Authors: รสกร รักสุจริต
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
การท่องเที่ยวเชิงทันตกรรม
ยุทธศาสตร์ชาติ
ความสามารถการแข่งขัน
Issue Date: 24-Sep-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษากลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาทันตกรรมในประเทศไทยเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงทันตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษากลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงทันตกรรม (Dental Tourism) ของประเทศไทยสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการวางกลยุทธ์ทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงทันตกรรมเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางการท่องเที่ยว ขอบเขตของการวิจัยเป็นการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่กลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเชิงทันตกรรม (Dental Tourism) จนถึงศึกษาการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิง ทันตกรรมของประเทศไทยและวางกลยุทธ์ทางการตลาดและแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง ทันตกรรม โดยใช้ระเบียบการวิธีวิจัยแบบการศึกษาเชิงเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัยพบว่ารัฐบาลได้มีการผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) โดยมีเป้าหมายให้ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ของไทย เพื่อเป็นส่วนช่วยในการผลักดันประเทศไทยให้มี เม็ดเงินไหลเข้าประเทศมากยิ่งขึ้น โดยรวมถือว่ามีความพร้อมในกลุ่มของบุคลากรทางการแพทย์ หากนำเทคโนโลยีมา เป็นส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการช่วยประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยกลยุทธ์สำคัญ คือการส่งเสริมประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ถือเป็นหนึ่งในผู้มี บทบาทสำคัญที่สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ไทยให้มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งสามารถ สนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหน่วยธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้ ผ่านการประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดแบบออนไลน์ และออฟไลน์
Description: 46 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4959
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.046 2565.pdf953.43 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.