Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5057
Title: การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำอัดลมทางเลือกเพื่อสุขภาพ
Other Titles: UNDERSTANDING BEHAVIORAL CONSUMPTION: CARBONATED DRINK HEALTHIER CHOICE
Authors: สุนทรี ฤทธิโยธิน
Keywords: น้ำอัดลม
สัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
พฤติกรรมการเลือกซื้อ
พฤติกรรมการเลือกซื้อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Issue Date: 2566
Publisher: Mahidol University
Abstract: เครื่องดื่มน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านสุขภาพโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ในปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวโดยการพัฒนาสูตรไม่มีน้ำตาล หรือลดน้ำตาลลงจากสูตรปกติ เพื่อเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพ ผ่านตราสัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพออกสู่ท้องตลาด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติ และการรับรู้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำอัดลมทางเลือกเพื่อสุขภาพจากตราสัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ในการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องดื่มแบบไม่มีส่วนร่วม และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 31 คน ช่วงอายุ 18-30 ปี และ 31-40 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และซื้อเครื่องดื่มผ่านทางร้านสะดวกซื้อ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคร้อยละ 68 เลือกซื้อเครื่องดื่มน้ำอัดลมแบบสูตรผสมน้ำตาล โดยตัดสินใจซื้อเพราะความชอบและพึงพอใจเป็นหลักแต่ผู้บริโภครับรู้เรื่องตราสัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ความขัดแย้งทางด้านความรู้สึกที่จะตอบสนองความสดชื่นดับกระหายและรสชาติถูกปาก แต่มีความคิดที่อยากจะมีสุขภาพที่ดีด้วย จึงเกิดการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสร้างสรรค์เพื่อไม่ให้รู้สึกผิด เช่น ลดปริมาณการดื่มต่อวัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลจากอาหารชนิดอื่นๆ และหันมาออกกาลังกายมากขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเรื่องการรณรงค์ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลอีกด้วย
Description: 42 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5057
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.024 2566.pdf3.05 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.