Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5176
Title: | แผนธุรกิจ GREEN BOARD REPORT ธุรกิจการประเมินความเป็นธุรกิจยั่งยืน |
Other Titles: | Business model green board report |
Authors: | ภูภูมิ วิเศษสมบัติ |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม แผนธุรกิจ GREEN BOARD REPORT ธุรกิจยั่งยืน การประเมิน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน (Climate change) ทำให้ทั่วโลก ต่างต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปมากมายโดยทั่วโลกต้ังเป้าหมายร่วมกันเพื่อรักษาการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2ºc และต้ังเป้าหมายท้าทายขึ้นที่ 1.5ºc เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางด้าน ธุรกิจควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในประเทศไทยได้มีเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (Net Zero Emission) ภายในปี 2065โดยปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยเองได้ออกนโยบายให้บริษัทในอุตสาหกรรม การเงินเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรมเองทั้งทางตรงและ ทางอ้อมซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อตัวบริษัทได้ โดยจากการออกนโยบายในครั้งนี้ทำให้เกิดการปรับตัว และหาทางแก้ไขและรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมทางการเงินโดยปัจจุบัน ภาคธนารคารพาณิชย์ได้เริ่มดำเนินปรับตัวตามนโยบายเช่นกระบวนการพิจารณาสินเชื่อและการ ลงทุนตามหลัก Environment Social Governance (ESG) จากความพยายามของธนาคารที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินของธนาคารเองที่ต้องการลงทุนและให้สินเชื่อกับบริษัทที่มีผลการดำเนินงานหรือแนวการดำเนินงานที่สอดคล้องไป กับหลักการปฏิบัติงาน Environment Social Governance (ESG) ส่งผลให้บริษัทเอกชนที่ต้องการการ ลงทุนหรือการได้รับสินเชื่อจากธนาคารต้องรายงานกับธนาคารได้ว่าบริษัทน้ันสร้างผลกระทบเชิง บวกหรือเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหนผ่านการทำรายงานความยั่งยืนโดยจากการทำรายงาน นี้ในบริษัทที่มีความพร้อมสามารถประเมินและวัดผลทำรายงานความยั่งยืนได้สามารถปรับตัวและ ได้รับโอกาสในการลงทุนจากธนาคารหรือได้รับสินเชื่อ กลับกันในบริษัทที่ไม่สามารถประเมินและ วัดผลทำรายงานความยั่งยืนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขาดเงินลงทุนหรือการขอสินเชื่อเพื่อดำเนินการธุรกิจ โดยในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้บริษัท Green Board Report ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน public hearing ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อฟังความเห็นของภาคธนาคารและบริษัทเอกชน ในการปรับใช้นโยบาย”แนวทางการดำเนินงานภาคการเงินสีเขียว”ทำให้บริษัท Green Board Report มองเห็นโอกาสในการเป็นเครื่องมือช่วยบริษัทเอกชนที่ไม่สามารถสร้างรายงานความยั่งยืนเพื่อยืนยันความสามารถในการดำเนินงานตามหลักการ Environment Social Governance (ESG) โดยบริษัท Green Board Report สร้างแบบประเมินและรายงานผลการประเมินผ่าน การทำ Web Application เป็นช่องทางเพื่อให้บริษัทเอกชนได้เข้าใช้งานผ่านการตอบคำถามแบบ ประเมินและรับรายงานความยั่งยืน บริษัท Green Board Report ในข้ันตอนการสร้างบริการนี้ได้ คำนึงถึงสองสิ่งด้วยกันสิ่งแรกการร้างแบบประเมินจาก BASIC SUSTAINABILITY ASSESSMENT TOOL (BSAT) โดย Bob Willard โดยพัฒนาแบบประเมินให้อยู่ในรูปแบบ Web Application เพื่อเป็นการง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน โดยสิ่งที่สองคือความง่ายต่อการใช้งานโดย บริษัท Green Board Report ได้รับฟังความคิดเห็นจากงาน public hearing และทราบว่าบริษัทเอกชน น้ันมีปัญหาเนื่องจากขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำรายงานความยั่งยืนและไม่ทราบว่าสิ่งใดบ้างที่นำมาคิดในการทำรายงานทำให้บริษัท Green Board Report ออกแบบการใช้งานโดยสร้างคำแนะนำให้ บริษัทเอกชนจัดเตรียมข้อมูลในแต่ละด้านก่อนการทำแบบประเมินพร้อมท้ังหลังจากตอบแบบ ประเมินแล้วจะสร้างรายงานออกมาในรูปแบบไฟล์ PDF และ ผลประเมินในรูปแบบไฟล์ CSV และ ในรูปการใช้งานแบบประเมินเองต้องมีการนำทางที่ง่ายต่อคนใช้งาน บริษัท Green Board Report วางแผนการเงินและแผนการตลาดโดยการเข้าถึง บริษัทเอกชนผ่านสองช่องทางโดยช่องทางแรกช่องทางออฟไลน์ผ่านการร่วมจัดงานสัมมนากับ ภาครัฐและธนาคารเช่นร่วมงานสัมมนากับธนาคาร SME Bank เพื่อให้บริษัทเอกชนที่ต้องมองหาทางแก้ปัญหาเรื่องรายงานความยั่งยืนได้ทราบถึงบริการจากบริษัท Green Board Report และ ช่องทางออนไลน์ผ่านการทำ Digital Marketing เช่นการทำสื่อหรือบทความให้ความรู้ด้านการ ประเมินและตัวอย่างการใช้งานโดยจัดทำ microsite สำหรับบริษัทเอกชนได้ทดลองใช้บริการเมื่อทำการทดลองใช้เสร็จหากบริษัทต้องการทราบรายงานผลสามารถซื้อได้ผ่านหน้าสุดท้ายในการทำแบบประเมิน แผนการเงินคำนวนการลงทุนในปี แรกใช้เงินลงทุน 4,251,000 บาท เป็นเงินจากผู้ถือหุ้น 3,200,000 บาท และ เป็นเงินกู้จากธนาคาร 1,050,000 บาท โดยใน 5 ปี แรก NPV อยู่ที่ 17,193,415 บาท อัตราตอบแทนผลการลงทุน 232% สามารถคืนทุนได้ 0.46 ปี |
Description: | 66 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5176 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.020 2566.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.